การบริหารศัตรูส้มโอแบบผสมผสาน - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27) +--- เรื่อง: การบริหารศัตรูส้มโอแบบผสมผสาน (/showthread.php?tid=1719) |
การบริหารศัตรูส้มโอแบบผสมผสาน - doa - 08-05-2016 การบริหารศัตรูส้มโอแบบผสมผสาน สุพัตรา อินทวิมลศรี, บุษบง มนัสมั่นคง, เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์ และจันทร์เพ็ญ ประคองวงศ์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การบริหารศัตรูส้มโอโดยวิธีผสมผสาน ดำเนินการที่แปลงส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาของเกษตรกรตำบลท่าชัย อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ขนาด 5 ไร่ แบ่งเป็น 2 แปลง โดยเปรียบเทียบระหว่างแปลงเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรทำการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามวิธีของเกษตรกรเอง แปลง IPM มีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยใช้วิธีการผสมผสาน เน้นการสำรวจศัตรูพืชเป็นหลัก ใช้วิธีกล วิธีเขตกรรม และพ่นสารเมื่อจำเป็นโดยคัดเลือกสารที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อศัตรูธรรมชาติ ผู้ใช้ ตลอดจนผู้บริโภคสำหรับแมลงใช้ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจทำการป้องกันกำจัด ผลการดำเนินงานระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 พบการระบาดของเพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และไรขาว ถึงระดับเศรษฐกิจ สารป้องกันกำจัดแมลงและไรที่ใช้ ได้แก่ สาร imidacloprid, carbosulfan, pretoleum spray oil และ pyridaben ส่วนโรคแคงเกอร์ และโรคที่เกิดจากเชื้อราอื่นๆ หลังจากเก็บใบ และผลส้มโอที่เป็นโรคออกก่อนฤดูฝน มีการพ่นสาร คือ copper hydroxide, carbendazim และ mancozeb แปลง IPM มีการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงอย่างเดียว 1 ครั้ง พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรค 3 ครั้ง รวมพ่นสารกำจัดศัตรูส้มโอ 4 ครั้ง ส่วนแปลงเกษตรกร มีการพ่นสารโดยไม่มีการสำรวจศัตรูพืชจำนวน 4 ครั้ง โดยสารที่ใช้ คือ abamectin, chlorpyrifos, amitraz และ propagite สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ใช้ คือ copper hydroxide, carbendazim และ mancozeb การกำจัดวัชพืชใช้วิธีการตัด ไม่มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชทั้ง 2 แปลง การเก็บเกี่ยวผลผลิตพบว่า ปริมาณผลผลิตไม่แตกต่างกันมากนัก คุณภาพผิวผลผลิตของแปลง IPM ด้อยกว่าแปลงเกษตรกรเล็กน้อย
|