คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การถ่ายทอดโรคเหี่ยวสับปะรดโดยเพลี้ยแป้ง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: การถ่ายทอดโรคเหี่ยวสับปะรดโดยเพลี้ยแป้ง (/showthread.php?tid=1664)



การถ่ายทอดโรคเหี่ยวสับปะรดโดยเพลี้ยแป้ง - doa - 08-05-2016

การถ่ายทอดโรคเหี่ยวสับปะรดโดยเพลี้ยแป้ง
วันเพ็ญ ศรีทองชัย, กาญจนา วาระวิชะนี และสุเทพ สหายา
กลุ่มวิจัยโรคพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สำรวจและเก็บเพลี้ยแป้งสีชมพูจากแปลงที่ จ. เพชรบุรี มาเลี้ยงให้ปลอดไวรัสในกรงกันแมลงจากนั้นนำหน่อสับปะรดมาตรวจสอบว่าปลอดไวรัส PMWaV-1 และ PMWaV-2 จำนวน 20 หน่อ โดยเทคนิค RT-PCR ไพรเมอร์ที่ใช้ตรวจ PMWaV-1 ได้แก่ Pa222-F1 (5′-ACA GGA AGG ACA ACA CTC AC-3′) และ Pa223-R (5′-CGC ACA AAC TTC AAG CAA TC-3′) จะให้แถบ band ของดีเอ็นเอ ขนาด 589 คู่เบส สำหรับไพรเมอร์ที่ใช้ตรวจ PMWaV-2 คือ Pa224-F2 (5′-CAT ACG AAC TAG ACT CAT ACG-3′) และ Pa225-R2 (5′-CCA TCC ACC AAT TTT ACT AC-3′) ให้แถบ band ของดีเอ็นเอขนาด 609 คู่เบส พบว่า มี 12 หน่อ ที่ปลอดไวรัสจึงได้นำมาปลูกในกระถาง ดูแลใส่ปุ๋ยหน่อสับปะรดซึ่งเก็บไว้ในกรงกันแมลง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเลี้ยงขยายเพลี้ยแป้งปลอดไวรัสให้มีเพียงพอ และรอให้หน่อมีอายุที่เหมาะสำหรับใช้ในการถ่ายทอดไวรัสต่อไป