คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การสำรวจ รวบรวม ตรวจจำแนกสายพันธุ์ปรสิตโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: การสำรวจ รวบรวม ตรวจจำแนกสายพันธุ์ปรสิตโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis (/showthread.php?tid=1650)



การสำรวจ รวบรวม ตรวจจำแนกสายพันธุ์ปรสิตโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis - doa - 08-05-2016

การสำรวจ รวบรวม ตรวจจำแนกสายพันธุ์ปรสิตโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis
ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ, ดาราพร รินทะรักษ์, กรแก้ว เสือสะอาด และปราสาททอง พรหมเกิด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          Sarcocystis singaporensis Zamen & Colley (1976) เป็นปรสิตโปรโตซัวที่มีศักยภาพสูงในการทำให้หนูสกุลท้องขาว (Rattus) และสกุลพุก (Bandicota) ป่วยและตายทั้งหมด (100%) ในระดับห้องปฏิบัติการและ 71 - 92 % ในระดับแปลงทดลองในฟาร์มไก่ นาข้าว และสวนปาล์มน้ำมันและไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสัตว์อื่นๆ ในสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตาม S. singaporensis ที่ได้จากการสำรวจและรวบรวมจากสัตว์อาศัยทั้ง 2 ชนิด ในพื้นที่ทำการเกษตรเขตเมือง ได้แก่ หนู และงูเหลือม เป็นต้น ให้ผลความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคที่แตกต่างกันเมื่อทดสอบกับหนู อย่างเช่น ปริมาณสปอร์โรซีสต์ที่ได้จากงูที่กินหนูป่ามาเลย์ติดเชื้อ 2 x 10(5) ซีสต์ ทำให้หนูท้องขาวทดลองตาย 80% ในขณะที่สปอร์โรซีสต์ที่ได้จากงูที่กินหนูพุกใหญ่ติดเชื้ออัตรา 2 x 10(5) ซีสต์ ทำให้หนูท้องขาวทดลองตาย 100% เป็นต้น จากข้อมูลที่ได้นี้ทำให้เห็นว่า ปรสิตโปรโตซัว S. singaporensis ในหนูแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะด้านความรุนแรงของการทำให้เกิดโรคในหนู ดังนั้น การสำรวจและคัดเลือกสายพันธุ์ S. singaporensis ที่มีศักยภาพสูงจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการผลิตสารชีวินทรีย์ชนิดนี้ในเชิงการค้า เพราะหนูซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สามารถสร้างภูมิคุมกันต่อเชื้อโรคได้ และการใช้เชื้อโปรโตซัวชนิดนี้ไปนานๆ จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดหนูลดลงได้ นอกจากนี้การสำรวจชนิด รวบรวมและคัดเลือกปรสิตโปรโตซัวที่มีประโยชน์ทั้งในหนูและสัตว์อาศัยสุดท้ายมากขึ้น อาจทำให้ได้ปรสิตโปรโตซัวที่นำมาใช้กำจัดหนูได้ทุกชนิด หรือกำจัดหนูหริ่ง (Mus pp.) ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญทั่วโลกในการผลิตเมล็ดธัญพืชและพืชไร่หลายชนิด