คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาสายพันธุ์หนูที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในหนูในสภาพโรงเรือน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: ศึกษาสายพันธุ์หนูที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในหนูในสภาพโรงเรือน (/showthread.php?tid=1648)



ศึกษาสายพันธุ์หนูที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในหนูในสภาพโรงเรือน - doa - 08-05-2016

ศึกษาสายพันธุ์หนูที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในหนูในสภาพโรงเรือน
ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ, ดาราพร รินทะรักษ์ และปราสาททอง พรหมเกิด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          หนูเป็นสัตว์อาศัยตัวกลางของโปรโตซัว S. singaporensis ที่มีความสำคัญต่อการผลิตสารชีวินทรีย์กำจัดหนู ซึ่งปริมาณซาร์โคซีสต์ในกล้ามเนื้อลำตัวหนูที่เป็นอาหารของงูเหลือมมีความสัมพันธุ์กับปริมาณสปอร์โรซีสต์ที่เกิดขึ้นในงูเหลือม แต่จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า หนูแต่ละชนิดที่ได้ทำการติดเชื้อโปรโตซัวชนิดนี้ ปริมาณของเชื้อโปรโตซัวที่พบในกล้ามเนื้อลำตัวหนูนั้น จะแตกต่างกันและความแตกต่างนี้พบได้แม้ในหนูชนิดเดียวกัน ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของหนูต่อเชื้อโปโตซัวชนิดดังกล่าว อาจมีส่วนทำให้การขยายพันธุ์ของโปรโตซัวในหนูลดระดับความรุนแรงของโปรโตซัวในการทำให้เกิดโรคในหนู และทำให้ปริมาณซีสต์ในระยะสุดท้ายของการเจริญที่พบในกล้ามเนื้อลำตัวลดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรศึกษาปริมาณซีสต์ของโปรโตซัว S. singaporensis ในกล้ามเนื้อลำตัวของหนูท้องขาวทั้ง 2 สายพันธุ์ว่าชนิดใด และหนูท้องขาวรุ่นใด จึงสามารถสร้างซีสต์ในกล้ามเนื้อลำตัวได้มาก