คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในงูเหลือมสภาพโรงเรือน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในงูเหลือมสภาพโรงเรือน (/showthread.php?tid=1647)



ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในงูเหลือมสภาพโรงเรือน - doa - 08-05-2016

ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในงูเหลือมสภาพโรงเรือน
ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ, ดาราพร รินทะรักษ์ และปราสาททอง พรหมเกิด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ปรสิตโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis ระยะสปอร์โรซีสต์ที่พบในมูลงูเหลือม เป็นสารชีวินทรีย์กำจัดหนู (bio-rodenticide) ที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำให้หนูสกุลท้องขาว และสกุลหนูพุกป่วยและตายทั้งหมด (100%) ในระดับห้องปฏิบัติการ และ 71 - 92 % ในระดับแปลงทดลอง เช่น โรงเก็บอาหารในฟาร์มไก่ นาข้าว และสวนปาล์มน้ำมัน และไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสัตว์อื่นๆ ในสภาพแวดล้อม สำหรับการผลิตสปอร์โรซีสต์ของโปรโตซัวชนิดนี้ให้ได้ปริมาณมาก เพื่อนำใช้เป็นสารชีวินทรีย์กำจัดหนูนั้น จำเป็นต้องเลี้ยงงูเหลือมและหนูเป็นจำนวนมากในสภาพโรงเรือน จากการสังเกตการเลี้ยงงูเหลือมในโรงเรือนเบื้องต้นพบว่า ขนาด อุณหภูมิ ความชื้น และสภาพแวดล้อมอื่นๆ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของงูเหลือมที่นำมาจากสภาพธรรมชาติและเลี้ยงในกรงเลี้ยง นอกจากนี้งูเหลือมที่เลี้ยงภายในกรงมักป่วยและตายบ่อยๆ บางครั้งเกิดจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ (ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส) นานกว่า 3 วันเป็นต้นไป บางครั้งเกิดจากโรคระบาด บางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้น การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่มีต่องูเหลือมที่เลี้ยงในกรงเลี้ยงภายในโรงเรือนจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ได้งูเหลือมที่เลี้ยง มีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ และสามารถสร้างเชื้อโปรโตซัวที่แข็งแรงและมีความรุนแรงต่อหนูสูง