คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาเทคนิคการพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูเห็ด - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: ศึกษาเทคนิคการพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูเห็ด (/showthread.php?tid=1622)



ศึกษาเทคนิคการพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูเห็ด - doa - 08-04-2016

ศึกษาเทคนิคการพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูเห็ด
พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, ดำรง เวชกิจ, จีรนุช เอกอำนวย, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการศึกษาเทคนิคการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูเห็ด ด้านกายภาพ (Qualitative assessment) ด้วยการพ่นสารละลายของสี Saturn yellow ความเข้มข้น 1 % ในเห็ด 2 ระยะ ทีี่่ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552 ทำการทดลอง 2 การทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Factorial in RCB การทดลองที่ 1 เป็นการพ่นเห็ดระยะก่อนเปิดดอกมี 5 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ ในกรรมวิธีที่ 1 และ 2 พ่นสารแบบน้ำมากด้วยเครื่องยนต์พ่นสารแบบแรงดันน้ำสูงประกอบหัวฉีดกรวยกลวงแบบ adjustable cone (แบบเกษตรกร) ที่อัตราพ่น 240 (อัตราของเกษตรกร) และ 120 ลิตร/ไร่ ตามลำดับ กรรมวิธีที่ 3 ประกอบหัวฉีดกรวยกลวงแบบแผ่นกระแสวนและหัวฉีดแยกกัน (disc and core) ที่อัตราพ่น 60 ลิตร/ไร่ กรรมวิธีที่ 4 ประกอบหัวฉีดแบบพัดที่อัตราพ่น 60 ลิตร/ไร่ และกรรมวิธีที่ 5 พ่นสารแบบน้ำน้อยมากด้วยเครื่องพ่นสาร CDA (Controlled Droplet Application) แบบ Air-assisted (Turbair) ที่อัตราพ่น 6 ลิตร/ไร่ การทดลองที่ 2 เป็นการพ่นเห็ดระยะเปิดดอกซึ่งกรรมวิธีและอัตราการพ่นเหมือนการทดลองที่ 1 หลังพ่นทดลองนำก้อนเห็ดและดอกเห็ดไปตรวจวัดการแพร่กระจายภายใต้หลอดแสงสีม่วง (Ultraviolet light) ตรวจวัดโดยให้คะแนนเป็นระดับโดยการทดลองที่ 1 ทำการตรวจนับการแพร่กระจายของละอองสารบริเวณรอบปากถุงบริเวณจุกด้านนอกและด้านใน ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ตรวจนับการแพร่กระจายของละอองสารด้านบนและด้านล่างของดอกเห็ด ผลการทดลองในการทดลองที่ 1 พบว่า ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของละอองในกรรมวิธีที่ 2, 3 และ 4 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 1 และกรรมวิธีที่ 5 โดยกรรมวิธีที่ 4 ให้ค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงที่สุด คือ 6.2375 และกรรมวิธีที่ 1 ให้ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 5.75 โดยสรุปพบว่า ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของละอองในทุกกรรมวิธีสามารถใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูเห็ดได้ คือ มากกว่า 30 ละออง/ตร.ซม.จากข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูเห็ดต่อไป ซึ่งสามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงได้มากกว่า 75 % เมื่อเทียบกับอัตราการพ่นของเกษตรกร สำหรับการทดลองที่ 2 ข้อมูลอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ผล