คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้ (/showthread.php?tid=1617)



การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้ - doa - 08-04-2016

การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้
พรพิมล อธิปัญญาคม และศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักผู้เชี่ยวชาญ

          ราไมคอร์ไรซาเป็นราที่เจริญอยู่ร่วมกับรากกล้วยไม้ ช่วยส่งเสริมการงอกของเมล็ดกล้วยไม้เพื่อให้ทราบชนิดของราไมคอร์ไรซาที่อยู่ร่วมกับรากกล้วยไม้ชนิดต่างๆ ในประเทศไทย จึงได้รวบรวม แยก และจำแนกราไมคอร์ไรซาจากกล้วยไม้ชนิดต่างๆ 8 ชนิด ได้แก่ รองเท้านารีฝาหอย รองเท้านารีเหลืองกระบี่ รองเท้านารีเหลืองปราจีน เอื้องช้าง ว่านน้ำทอง อั้วพวงมณี เอื้องข้าวเหนียวลิง และ เอื้องดินใบหมาก จากจังหวัดเชียงใหม่ อุบลราชธานี กาญจนบุรี กระบี่ และกรุงเทพ ฯ ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 – เดือนกันยายน 2551 โดยทำการแยกราจากเส้นใยที่เจริญอยู่ในเซลล์ชั้นคอร์เท็กซ์ของรากกล้วยไม้ ผลการดำเนินงานได้ราทั้งหมด 40 สายพันธุ์ ซึ่งสามารถจำแนกชนิดราเป็นราสกุล Rhizoctonia 3 ชนิด เป็น Binucleate Rhizoctonia ได้แก่ Rhizoctonia globularis, R. goodyerae-repentis และ R. repens เมื่อนำราไมคอร์ไรซาทั้งหมดมาทำการคัดเลือกการเจริญเติบโตบนอาหาร oat meal agar (OMA) พบเจริญได้ดีบน OMA 5 isolates คือ R. globularis (RZO 0009), R. goodyerae-repentis (RZO 0036) และ R. repens (RZO 0010, 0021, 0022) เมื่อนำทั้ง 5 isolates มาทดสอบการมีประโยชน์ต่อการเพาะเมล็ดกล้วยไม้เอื้องดินใบหมากแบบเกื้อกูลเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันพบว่า รา R. repens (RZO 0010) มีศักยภาพในการกระตุ้นให้เมล็ดเอื้องดินใบหมากงอกได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 21 วัน และส่งเสริมให้เมล็ดพัฒนาเจริญเป็นต้นอ่อนได้ 45 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 120 วัน ซึ่งแตกต่างกับ R. repens (RZO 0021, 0022) และ R. globularis (RZO 0009) ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เมล็ดกล้วยไม้งอกได้ 98.8, 98.2 และ 96.0 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 21 วัน แต่สามารถเจริญเป็นต้นอ่อนในเวลา 120 วัน ได้เพียง 23.2, 22.0 และ 17.6 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่รา R. goodyerae-repentis (RZO 0036) และกรรมวิธีเพาะเมล็ด