คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาช่วงความถี่ที่เหมาะสมในการพ่นสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้ายในกล้วยไม้ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: ศึกษาช่วงความถี่ที่เหมาะสมในการพ่นสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้ายในกล้วยไม้ (/showthread.php?tid=160)



ศึกษาช่วงความถี่ที่เหมาะสมในการพ่นสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้ายในกล้วยไม้ - doa - 10-30-2015

ศึกษาช่วงความถี่ที่เหมาะสมในการพ่นสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้ายในกล้วยไม้
สิริกัญญา ขุนวิเศษ, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, สุชาดา สุพรศิลป์, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการศึกษาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้าย (Thrips palmi Karny) ที่แปลงกล้วยไม้ของเกษตรกรอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม 2553 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 6 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสารทุก 4 วัน กรรมวิธีที่ 2 พ่นสารทุก 5 วัน กรรมวิธีที่ 3 พ่นสารทุก 6 วัน กรรมวิธีที่ 4 พ่นสารทุก 7 วัน กรรมวิธีที่ 5 พ่นสารทุก 8 วัน และกรรมวิธีที่ 6 ไม่พ่นสาร โดยทุกกรรมวิธีใช้สาร emamectin benzoate (Proclaim 1.92%EC) อัตรา 10 มล./น้ำ 10 ลิตร พ่นสารจำนวน 4 ครั้ง เริ่มพ่นสารเมื่อพบเพลี้ยไฟระบาด โดยการตรวจนับเพลี้ยไฟจำนวน 30 ดอก/แปลงยอย (ช่อละดอก) ก่อนพ่นสารทุกครั้งและหลังพ่นสาร 4 วัน ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่พ่นสารทุก 4 วัน และกรรมวิธีที่พ่นสารทุก 5 วัน มีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยไฟได้ดี แต่จำนวนเพลี้ยไฟยังมีปริมาณค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับ ET และทุกกรรมวิธีที่พ่นสารมีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยไฟได้ดีกว่าไม่พ่นสาร ทั้งนี้จะได้ทำการทดลองซ้ำอีกครั้งในปีต่อไป โดยนำข้อมูลที่ได้ไปปรับเปลี่ยนวิธีการคัดเลือกสารในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟต่อไป