ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในทานตะวัน - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26) +--- เรื่อง: ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในทานตะวัน (/showthread.php?tid=1599) |
ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในทานตะวัน - doa - 08-03-2016 ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในทานตะวัน เตือนจิตต์ สัตยาวิรุทธ์ และสุเทพ สหายา การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในทานตะวัน ดำเนินการในไร่เกษตรกร อ.พัฒนานิคม จ. ลพบุรี ระหว่างเดือน ธันวาคม 2550 - มีนาคม 2551 สำหรับแมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยจักจั่นฝ้าย (Amrasca biguttula (Ishida)) เพลี้ยไฟฝ้าย (Thrips palmi Karny) และแมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci (Gennadius)) มี 1 แปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ imidacloprid (Provado 70% WG), acetamiprid (Molan 20% SP), dinotefuran (Stakle 10% WP), thiamethoxam (Actara 25% WG) และ buprofezin (Napam 25% WP) ในอัตรา 2, 4, 10, 2, และ 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับไม่ใช้สาร ผลการทดลองพบว่า imidacloprid และ dinotefuran มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการควบคุมเพลี้ยจักจั่น สำหรับเพลี้ยไฟฝ้าย acetamiprid, imidacloprid, thiamethoxam และ dinotefuranให้ผลดีเรียง ตามลำดับ ส่วนแมลงหวี่ขาวยาสูบ สารทุกชนิดไม่แตกต่างทางสถิติจากไม่พ่นสาร
|