คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ออกแบบพัฒนาเครื่องบดแห้งทุเรียน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: ออกแบบพัฒนาเครื่องบดแห้งทุเรียน (/showthread.php?tid=1589)



ออกแบบพัฒนาเครื่องบดแห้งทุเรียน - doa - 08-03-2016

ออกแบบพัฒนาเครื่องบดแห้งทุเรียน
เวียง อากรชี, วิบูลย์ เทเพนทร์ และชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพาณิชย์

          จึงได้ทำการออกแบบและพัฒนาเครื่องบดแห้งทุเรียนต้นแบบ พร้อมอุปกรณ์การป้อนเพื่อควบคุมอัตราการบดละเอียดให้สามารถทำการบดได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยเครื่องบดต้นแบบที่ออกแบบสร้างประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ ชุดบดหยาบ ที่ออกแบบสร้างเป็นเครื่องบดแบบแฮมเมอร์มิลล์ใบมีดยึดติดกับเพลา ตีผ่านตะแกรง รูกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรู 3 มิลลิเมตร รอบการหมุนใบมีด 500 รอบต่อนาที ต้นกำลัง 2 แรงม้า บดทุเรียนที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร จากนั้นส่งเข้าอุปกรณ์การป้อนแบบเกลียวลำเลียงเข้าเครื่องบดละเอียดโดยเครื่องบดละเอียดต้นแบบที่ออกแบบพัฒนาเป็นเครื่องบดแบบ Pin mill มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 240 มิลลิเมตร มีซี่ฟันบนจานบดหมุน (Rotor) 3 วงรอบ ซี่ฟันบดยึดอยู่กับที่ (Stator) 2 วงรอบ ลักษณะซี่ฟันบดได้ออกแบบเป็น 2 ลักษณะ คือแบบเป็นแท่งสี่เหลี่ยม และแบบเป็นแท่งกลม ทั้ง 2 แบบ มีการทำงานในส่วนจานบด หมุนด้วยความเร็ว 2,900 รอบต่อนาที มอเตอร์ต้นกำลัง 3 แรงม้า ผลการทดสอบประสิทธิภาพการบดใกล้เคียงกัน เครื่องบดแห้งทุเรียน ต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้มีอัตราการบดที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 80 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

          จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ราคาเครื่องอยู่ที่ประมาณ 60,000 บาท มีต้นทุนการใช้เครื่องอยู่ที่ 1.11 บาทต่อกิโลกรัมทุเรียนผง จุดคุ้มทุนกรณีรับจ้างบดเท่ากับ 15,640.80 กิโลกรัมต่อปี ระยะเวลาคืนทุน 2.34 ปี ทั้งนี้ตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดต้นทุนการผลิตทุเรียนผงคือราคาทุเรียนผลสด