คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
รูปแบบการจัดการปาล์มน้ำมันของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: รูปแบบการจัดการปาล์มน้ำมันของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม (/showthread.php?tid=1582)



รูปแบบการจัดการปาล์มน้ำมันของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม - doa - 08-03-2016

รูปแบบการจัดการปาล์มน้ำมันของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
เพ็ญศิริ จำรัสฉาย, วิชณีย์ ออมทรัพย์สิน, สุจิตรา พรหมเชื้อ และวัชรี ศรีรักษา

          การศึกษารูปแบบการจัดการของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเพื่อให้ทราบประสิทธิภาพการสกัดน้ำมันปาล์มของโรงงาน โดยการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์น้ำมันของทะลายปาล์มน้ำมันที่ส่งโรงงานและจากส่วนต่างๆของกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มดิบ เพื่อวิเคราะห์ความสูญเสียน้ำมันดำเนินการ โดยสุ่มตัวอย่างต่างๆ จากโรงงานในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่ ผลการทดลองพบว่า ลานเทของโรงงานมีทะลายปาล์มน้ำมันดิบ 17.79 – 29.11% เมื่อวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์น้ำมันจากตัวอย่างเส้นใยมีค่าเท่ากับ 3.77 – 5.14% จากทะลายเปล่า มีค่าเท่ากับ 3.75 – 5.39% จากน้ำของเครื่อง Decanter มีค่าเท่ากับ 0.74 – 1.06% จาก Decanter cake มีค่าเท่ากับ 3.04 - 3.92% และจากน้ำเสียมีค่าเท่ากับ 0.91 – 1.17% เมื่อนำค่าการสูญเสียน้ำมันจากขบวนการสกัดเทียบเป็นการสูญเสียน้ำมันต่อทะลายพบว่า มีการสูญเสียเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลาย 2.23 – 3.03% ซึ่งจากการวิเคราะห์ทะลายปาล์มน้ำมันสุกนั้น มีเปอร์เซ็นต์ น้ำมันต่อทะลายประมาณ 24 – 29% แต่ค่าการสกัดน้ำมันปาล์มดิบของโรงงานเฉลี่ย 16.95% เมื่อรวมกับค่าการสูญเสียน้ำมันจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ทะลายปาล์มน้ำมันมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันเพียง 19.98% ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ น้ำมันที่สูญเสียเนื่องจากการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มดิบถึง 4.02% และทะลายปาล์มดิบมีค่า DOBI ต่ำเท่ากับ 1.97 จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบต้องมีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวทะลายและกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มดิบให้มีคุณภาพ และนอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มเสถียรภาพของราคาทะลายปาล์มอีกด้วย