คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสในพริกโดย GC - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสในพริกโดย GC (/showthread.php?tid=1553)



การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสในพริกโดย GC - doa - 08-03-2016

การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสในพริกโดยใช้  Gas Chromatograph
ประภัสสรา พิมพ์พันธุ์ และยงยุทธ ไผ่แก้ว

          ตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบสารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในพริก จำนวน 13 ชนิด ได้แก่ ethoprophos, cadusafos, dimethoate, pirimiphos-m, parathion, chlorpyrifos, pirimiphos, prothiophos, profenofos, ethion, triazophos, EPN และ phosalone ณ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตาม ISO/IEC17025 กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สารพิษตกค้างแบบรวม ที่ได้ดัดแปลงจากวิธีของ Steinwandter (1985) รายการที่ตรวจสอบได้แก่ Range, Linearity, Accuracy, Precision, Limit of Quantitation (LOQ) และ Limit of Detection (LOD) ผลการตรวจสอบ Range ของวิธีการทดสอบนี้สามารถนำมาตรวจสอบสารพิษตกค้างได้ในช่วงตั้งแต่ 0.01 – 8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมสำหรับ Linearity พบว่า ค่า Correlation coefficient มีค่ามากกว่า 0.995 ในทุกสารที่ตรวจสอบ มีค่า accuracy โดยประเมินจาก %recovery ผ่านเกณฑ์การยอมรับ ตามความเข้มข้นของสาร 13 ชนิด ทั้ง 7 ระดับอยู่ในช่วง 74.6 - 110% ส่วน Precision ของวิธีทดสอบที่ความเข้มข้น 0.01 – 8 mg/kg พบว่าผลจากการวัดไม่เกินจากค่าที่คำนวณ ที่ประเมินโดยใช้อัตราส่วนของค่า Horwitz (Horwitz’s Ratio, HORRAT) โดยอยู่ในเกณฑ์การยอมรับ Limit of Detection มีค่าเท่ากับ 0.005 - 0.02 mg/kg ขึ้นกับชนิดของสารพิษตกค้าง สำหรับค่า Limit of Quantification (LOQ) ของสารทั้ง 13 ชนิด มีค่าอยู่ระหว่าง 0.01 - 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากข้อมูลทั้งหมดที่ทดสอบแสดงให้เห็นว่า วิธีการนี้สามารถใช้ตรวจสอบสารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในพริกได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ และสามารถนำข้อมูลไปยื่นขอขยายขอบข่าย การรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบสารพิษตกค้างตามมาตรฐาน ISO/IEC17025:2005 จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (สมป.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้างมาตรฐานและความน่าเชื่อถือให้กับงานบริการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในตัวอย่างพริกเพื่อการส่งออก