คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ : พันธุ์จันทบุรี 1, จันทบุรี 2, จันทบุรี 3 - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: ทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ : พันธุ์จันทบุรี 1, จันทบุรี 2, จันทบุรี 3 (/showthread.php?tid=1537)



ทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ : พันธุ์จันทบุรี 1, จันทบุรี 2, จันทบุรี 3 - doa - 08-03-2016

ทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ : พันธุ์จันทบุรี 1, จันทบุรี 2, จันทบุรี 3
ทรงพล สมศรี, พะยงค์ เก่งกาจ,  ณิชชา แหลมเพ็ชร์,  นาตยา ดำอำไพ  และสุชาติ วิจิตรานนท์
สำนักผู้เชี่ยวชาญ

          จากการศึกษาโครงการผสมพันธุ์ทุเรียนเพื่อผลิตทุเรียนพันธุ์ลูกผสมระหว่างเดือนธันวาคม 2528 - กันยายน 2533 ได้ต้นกล้าลูกผสมประมาณ 7,634 ต้น ต่อมาได้ทำการประเมินและคัดเลือกทุเรียนลูกผสมที่ให้ผลผลิตแล้ว ระหว่างปี 2541 - 2544 ได้ลูกผสมดีเด่นที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐานเหมาะกับการส่งออกหรือบริโภคภายในประเทศและมีคุณสมบัติที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ปานกลาง ยาว เป็นสายพันธุ์ ต้นฤดู กลางฤดู ปลายฤดู และพันธุ์ที่เหมาะสำหรับการแปรรูป จำนวน 29 สายพันธุ์ แต่ได้นำมาทำการทดสอบพันธุ์ จำนวน 20 สายพันธุ์ ขณะเดียวกันได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของผล เพื่อยืนยันความดีเด่นอีก ตั้งแต่ปี 2545 - 2548 พบว่า ยังมีคุณภาพดีตามหลักเกณฑ์ที่คัดเลือก นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์เพิ่มเติม พร้อมทั้งศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตในแหล่งผลิตทุเรียนภาคตะวันออกและภาคใต้ คือ ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี (แปลงทดลองที่สถานีทดลองยางทุ่งเพล) ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร (แปลงทดลองที่ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี คันธุลี) และศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง และศึกษาความทนทานต่อเชื้อโรค Phytopthora palmivora ซึ่งเป็นสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า จากนั้นได้ประมวลข้อมูลทั้งหมดเพื่อนำเสนอสายพันธุ์ทุเรียนลูกผสมดีเด่น 3 สายพันธุ์ คือ ลูกผสมหมายเลข ICNxM 5-1-1 เป็นพันธุ์จันทบุรี 1, ICN 7-5-2-2 เป็นพันธุ์จันทบุรี 2 และ 10-251-8-1 เป็นพันธุ์จันทบุรี 3 ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นพันธุ์ต้นฤดู โดยมีอายุเก็บเกี่ยว 103.86 92.67 และ 99.43 วันหลังดอกบาน (เฉลี่ย 7 ปี 2542-2548) ในเบื้องต้นเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งสายพันธุ์เหล่านี้จะนำไปใช้ในโครงการปรับโครงสร้างภาคการผลิตของทุเรียนเพื่อทดแทนพันธุ์ดั้งเดิมและเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตในช่วงต้นฤดูให้มากขึ้นเป็นการกระจายช่วงการผลิตและทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น