การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ถั่วหรั่ง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26) +--- เรื่อง: การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ถั่วหรั่ง (/showthread.php?tid=1525) |
การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ถั่วหรั่ง - doa - 08-03-2016 การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ถั่วหรั่ง จิระ สุวรรณประเสริฐ, อำนวย ไชยสุวรรณ์, ปรียา จันทะนะกิจ และอุทัยวรรณ ทุ่ยอ้น ทำการเปรียบเทียบศักยภาพการให้ผลผลิตและการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมของถั่วหรั่งในขั้นการเปรียบเทียบมาตรฐานใน 2 สถานที่ คือ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา และภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตตรัง วางแผนการทดลองแบบ RCB ทำ 4 ซ้ำ กรรมวิธีเป็นพันธุ์ถั่วหรั่งจาก IITA ที่ผ่านขั้นตอนการเปรียบเทียบเบื้องต้นแล้ว จำนวน 12 พันธุ์ กับพันธุ์เปรียบเทียบ 2 พันธุ์คือ สงขลา 1 และพันธุ์พื้นเมืองพบว่าในสภาพที่มีการเข้าทำลายของโรคใบไหม้อย่างสม่ำเสมอทั้งแปลงที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา พันธุ์ TVsu 473 และ TVsu 1483 แสดงออกให้เห็นว่าเป็นพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคได้ดีจึงอยู่ในกลุ่มที่ให้ผลผลิตสูงสุดของการทดลองนี้ ส่วนที่ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตตรังซึ่งมีสภาพแวดล้อมมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วหรั่งและมีโรคใบไหม้เข้าทำลายเพียงเล็กน้อยในบางจุดเท่านั้น พบว่ามี 5 พันธุ์ที่ให้ผลผลิตฝักสดสูงกว่า 800 กก./ไร่ และเมื่อพิจารณาการแสดงออกของพันธุ์ต่างๆ ทั้ง 2 สถานที่แล้วจึงเลือก 7 พันธุ์ซึ่งประกอบด้วย TVsu 460 TVsu 473 TVsu 892 TVsu 986 TVsu 1221 Tvsu 1483 และ Tvsu 1605 เข้าเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐานสงขลา 1 ในขั้นการเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นในฤดูปลูกปี 2552 ต่อไป
|