การตอบสนองของพันธุ์ต่อระยะปลูก (ปีที่ 3) - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26) +--- เรื่อง: การตอบสนองของพันธุ์ต่อระยะปลูก (ปีที่ 3) (/showthread.php?tid=1501) |
การตอบสนองของพันธุ์ต่อระยะปลูก (ปีที่ 3) - doa - 08-02-2016 การตอบสนองของพันธุ์ต่อระยะปลูก (ปีที่ 3) อัจฉรา ลิ่มศิลา, สมลักษณ์ จูฑังคะ, แฉล้ม มาศวรรณา, เสาวรี ตังสกุล, สุรนัย รัมมะฉัตร, กิตติพร เจริญสุข และศุกร์ เก็บไว้ ศึกษาผลผลิตยอด (ใบและลำต้นอ่อน) ของมันสำปะหลัง 2 พันธุ์ ที่ใช้ระยะปลูก 3 ระยะ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา ศบ.ป. มหาสารคาม และศบ.ป. สกลนคร ในฤดูปลูก 2549/50 วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB มี 4 ซ้ำ Main plot เป็นระยะปลูก 3 ระยะ 30 x 30, 60 x 30 และ แถวคู่ (30 x 30 เซนติเมตร เว้นระยะระหว่างแถวคู่ 60 เซนติเมตร) Sub plot เป็นมันสำปะหลัง 2 พันธุ์ คือ ระยอง 5 และ/หรือ ระยอง 72 และ/หรือ เกษตรศาสตร์ 50 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 100-36-36 กิโลกรัม N-P2O5-K2O 2 ต่อไร่ โดยใช้ปุ๋ย 2 ชนิด ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ครั้งละ 80 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 3 ครั้ง ใส่พร้อมปลูก หลังเก็บเกี่ยวครั้งที่ 2 และครั้งที่ 4 และปุ๋ยสูตร 46-0-0 ครั้งละ 80 กิโลกรัม จำนวน 2 ครั้ง หลังเก็บเกี่ยวครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 เก็บเกี่ยวยอดครั้งที่ 1 เมื่ออายุประมาณ 2 เดือนและเก็บเกี่ยวครั้งต่อๆ ไป ตามการเจริญเติบโต ผลการทดลองสรุปได้ดังนี้
ระยอง พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ให้ผลผลิตยอดแห้งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 (2.197 และ 1.801 ตันต่อไร่ตามลำดับ) ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูงกว่าระยะปลูกอื่นๆ (ได้ผลผลิตยอดแห้งเฉลี่ย 2.299 ตันต่อไร่และให้ผลผลิตหัวเฉลี่ย 3.137 ตันต่อไร่)
ขอนแก่น น้ำท่วมเสียหายหลังจากเก็บเกี่ยวครั้งที่ 1
มหาสารคาม พันธุ์ระยอง 5 ให้ผลผลิตยอดแห้งสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2.390 และ 2.026 ตันต่อไร่ ตามลำดับ) ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูงกว่าระยะปลูกอื่นๆ (ได้ผลผลิตยอดแห้งเฉลี่ย 2.421 ตันต่อไร่ และให้ผลผลิตหัวเฉลี่ย 5.355 ตันต่อไร่)
สกลนคร พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ให้ผลผลิตยอดแห้งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 72 (1.534 และ 1.129 ตันต่อไร่ตามลำดับ) ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูงกว่าระยะปลูกอื่นๆ (ได้ผลผลิตยอดแห้งเฉลี่ย 1.399 ตันต่อไร่และให้ผลผลิตหัวเฉลี่ย 4.167 ตันต่อไร่)
สงขลา พันธุ์ระยอง 5 ให้ผลผลิตยอดแห้งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 72 (2.910 และ 2.648 ตันต่อไร่ ตามลำดับ) ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร และการปลูกเป็นแถวคู่ ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับ กล่าวคือ ได้ผลผลิตยอดแห้งเฉลี่ย 2.829 และ 2.863 ตันต่อไร่ และให้ผลผลิตหัวเฉลี่ย 5.034 และ 4.977 ตันต่อไร่ ตามลำดับ จึงเลือกระยะปลูกได้ตามความสะดวกในการปฏิบัติงานได้ถึง 2 ระยะ
นครราชสีมา พันธุ์ระยอง 5 ให้ผลผลิตยอดแห้งสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 (2.616 และ 2.447 ตันต่อไร่ ตามลำดับ) ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ให้ผลผลิตยอดแห้ง 2.583 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าการปลูกแบบแถวคู่เล็กน้อย (2.548 ตันต่อไร่)
|