คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตงาในสภาพไร่อินทรีย์ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: ความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตงาในสภาพไร่อินทรีย์ (/showthread.php?tid=1495)



ความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตงาในสภาพไร่อินทรีย์ - doa - 08-02-2016

ความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตงาในสภาพไร่อินทรีย์
อรอนงค์ วรรณวงษ์, พรพรรณ สุทธิแย้ม, บุญเหลือ ศรีมุงคุณ และนาตยา จันทร์ส่อง

          การศึกษาความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตงาในสภาพไร่อินทรีย์ ในปี 2549 - 2551 ปลายฤดูฝน ดำเนินการที่แปลงทดลองศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ลักษณะดินเป็นดินทรายร่วน ปลูกงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block มี 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี คือ 1. พ่นน้ำหมักชีวภาพผลไม้อัตราส่วนต่อน้ำ 1:200 พ่นทุก 3 วัน เริ่มเมื่ออายุ 10 วันหลังงอกจนถึงระยะงามีอายุ 70 วันหลังงอก 2. พ่นน้ำหมักชีวภาพผลไม้ อัตราส่วนต่อน้ำ 1:200 พ่นทุก 7 วัน เริ่มเมื่ออายุ 10 วันหลังงอก จนถึงระยะงามีอายุ 70 วัน หลังงอก 3. พ่นน้ำหมักชีวภาพปลา อัตราส่วนต่อน้ำ 1:200 พ่นทุก 3 วัน เริ่มเมื่ออายุ 10 วันหลังงอก จนถึงระยะงามีอายุ 70 วันหลังงอก 4. พ่นน้ำหมักชีวภาพปลา อัตราส่วนต่อน้ำ 1:200 พ่นทุก 7 วัน เริ่มเมื่ออายุ 10 วันหลังงอก จนถึงระยะงามีอายุ 70 วันหลังงอก 5. ไม่พ่นน้ำหมักชีวภาพ วิธีที่ 1 - 4 พ่นน้ำหมักชีวภาพสมุนไพรอัตราส่วนต่อน้ำ 1 :200 ควบคู่กับน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้และปลา ผลการทดลองพบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้และปลาผลิตงาในสภาพไร่อินทรีย์กับวิธีการไม่พ่นน้ำหมักชีวภาพ ผลผลิตงาไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติโดยงามีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 145 - 182 กก./ไร่ และองค์ประกอบผลผลิตงา ได้แก่ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก และน้ำหนักเมล็ดต่อต้น จากการใช้น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้และปลากับวิธีการไม่พ่นน้ำหมักชีวภาพ ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติเช่นเดียวกัน หลังจากเก็บเกี่ยวงา ได้นำผลผลิตงาและดินไปวิเคราะห์สารพิษตกค้าง 4 กลุ่ม คือ organophosphate organochlorine pyrethroid และ carbamate ไม่พบสารพิษตกค้างทั้งในผลผลิตและในดิน