คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในงาเพื่อทดแทนสารเฝ้าระวัง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในงาเพื่อทดแทนสารเฝ้าระวัง (/showthread.php?tid=1483)



การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในงาเพื่อทดแทนสารเฝ้าระวัง - doa - 08-02-2016

การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในงาเพื่อทดแทนสารเฝ้าระวัง
สุเทพ สหายา และเตือนจิตต์ สัตยาวิรุทธ์

          เพลี้ยแป้งจุดดำ, Phenacoccus solenopsis Tinsley เป็นแมลงศัตรูสำคัญของงา ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยซึ่งมีปากแบบเจาะดูด (piercing-sucking mouthparts) จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของงาทั้ง ใบ กิ่ง ลำต้น และฝักทำให้ต้นแคระแกร็น ผลผลิตลดลง ในบริเวณที่ระบาดมากทำให้ต้นงายอดเหี่ยวแห้งและตายเป็นหย่อมๆ ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในงาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบชนิดและอัตราที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในงา ซึ่งไม่มีคำแนะนำมาก่อน การทดลองในสภาพไร่ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ และแปลงเกษตรกร อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2548 – กันยายน 2551 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี คือการพ่นสาร thiamethoxam (Actara 25 % WG), imidacloprid (Provado 70 % WG), buprofezin (Award 40%SC), white oil (Vite oil 67 %EC), buprofezin (Award 40 % SC) + white oil (Vite oil 67 % EC) อัตรา 2, 2, 20, 100 และ 10+50 กรัม หรือมิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร ผลปรากฏว่าในสภาพไร่เพลี้ยแป้งมีการระบาดค่อนข้างต่ำและไม่สม่ำเสมอไม่สามารถพ่นสารตามกรรมวิธีได้ จึงทำการปรับวิธีการทดสอบจากสภาพไร่มาเป็นห้องปฏิบัติการในสภาพเรือนทดลองสภาพเปิด ผลพบว่าการพ่นสาร thiamethoxam และ imidacloprid มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ส่วน buprofezin และ white oil พ่นแบบเดี่ยวมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ ในขณะที่การผสมระหว่าง  buprofezin+white oil มีประสิทธิภาพปานกลาง