การประเมินความเสียหายผลผลิตของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ติดเชื้อ PVY - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26) +--- เรื่อง: การประเมินความเสียหายผลผลิตของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ติดเชื้อ PVY (/showthread.php?tid=1467) |
การประเมินความเสียหายผลผลิตของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ติดเชื้อ PVY - doa - 08-02-2016 การประเมินความเสียหายผลผลิตของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ติดเชื้อ PVY สิทธิศักดิ์ ไพศาล, สุรภี กีรติยะอังกูร และวิวัฒน์ ภานุอำไพ การประเมินความเสียหายผลผลิตของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ติดเชื้อ PVY ทั้ง 3 ฤดู ฤดูหนาว (ก.พ.50 - มี.ค.50), ฤดูฝน (ก.ย.50 - พ.ย.50) และฤดูหนาว (ธ.ค.50 - มี.ค.51) ทำการสุ่มตรวจใบมันฝรั่งครั้งที่ 1 ช่วงฤดูหนาวระหว่าง ก.พ.50 - มี.ค.50 พบว่า กรรมวิธีที่ 1 เป็นโรคเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ในครั้งที่ 2 พบเป็นโรคถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรรมวิธีที่ 2 สุ่มครั้ง 1 เป็นโรค 17 เปอร์เซ็นต์ ในครั้งที่ 2 พบเป็นโรค 99 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีที่ 3 และกรรมวิธีที่ 4 ก็เช่นเดียวกันในระยะแรกจะติดเชื้อน้อยแต่เมื่อสุ่มในครั้งที่สองก็พบเป็นโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเมื่อสุ่มครั้งสุดท้าย กรรมวิธีที่ 1 และกรรมวิธีที่ 3 เป็นโรค 99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรรมวิธีที่ 2 และกรรมวิธีที่ 4 เป็นโรค 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรรมวิธีที่ 5 ซึ่งเป็นแปลงเปรียบเทียบเป็นโรค 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลการตรวจวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยจำนวนหัวและน้ำหนักหัวมันฝรั่งพบว่าที่จำนวนหัวและขนาดของหัวใหญ่กว่า 45 มิลลิเมตรจำนวนหัวทั้ง 5 กรรมวิธี ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยจำนวนหัวสูงสุดเป็นการทดลองกรรมวิธีที่ 2 ซึ่งมีจำนวนหัว 247 หัว และกรรมวิธีที่ 5 ซึ่งเป็นแปลงเปรียบเทียบมีจำนวนหัว 190 หัว ส่วนน้ำหนักพบว่า กรรมวิธีที่ 5 มีน้ำหนักกว่ากรรมวิธีที่ 1 และกรรมวิธีที่ 4 แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ จำนวนหัวและขนาดของหัวเล็กกว่า 45 มิลลิเมตร กรรมวิธีที่ 1 – กรรมวิธีที่ 4 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญแต่ทั้ง 4 กรรมวิธี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีที่ 5 เพราะพบว่า กรรมวิธีที่5 มีหัวขนาดเล็กจำนวน 73.6 หัว มากกว่ากรรมวิธีที่ 1 - กรรมวิธีที่ 4 ซึ่งกรรมวิธีที่ 1 มีหัวขนาดเล็กเพียง 42.00 หัว คุณภาพของหัวมันฝรั่ง พบว่าต้นมันฝรั่งที่เป็นโรคจะมีขนาดหัวลดลง ส่วนการสุ่มตรวจช่วงฤดูฝน (ก.ย.50 - พ.ย.50) และฤดูหนาว (ธ.ค.50 - มี.ค.51) พบว่าผลการทดลองเป็นไปในทิศทางเดียวกับฤดูหนาวครั้งที่ 1 รวมทั้งผลการตรวจวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยจำนวนหัวและน้ำหนักหัวมันฝรั่ง และคุณภาพหัวมันฝรั่ง พบว่าจำนวนหัวและขนาดของหัวใหญ่กว่า 45 มิลลิเมตร และขนาดของหัวเล็กกว่า 45 มิลลิเมตร เป็นไปในทิศทางเดียวกับฤดูหนาว
|