คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ระบบควบคุมการส่งออกลำไยสดจากประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28)
+--- เรื่อง: ระบบควบคุมการส่งออกลำไยสดจากประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน (/showthread.php?tid=1451)



ระบบควบคุมการส่งออกลำไยสดจากประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน - doa - 07-12-2016

ระบบควบคุมการส่งออกลำไยสดจากประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน
รุ่งทิวา รอดจันทร์, เกรียงไกร สุภโตษะ, ปรียานุช ทิพยะวัฒน์, กุลวิไล สุทธิลักษณวนิช, อัจฉรีย์ เตโชฬาร, ยสิศร์ อินทรสถิตย์, อุทัย นพคุณวงศ์, วิทยา อภัย, สมเพชร เจริญสุข, สมเพชร พรหมเมืองดี, สุธินี สาสีลัง, สุรเดช ปัจฉิมกุล และเกษสิริ ฉันทพิริยะพูน
กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6

          ปี 2556 สาธารณรัฐประชาชนจีน ระงับการนำเข้าลำไยสดจากผู้ส่งออกของไทย จำนวน 11 รายจากการตรวจพบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไยสดเกินค่าที่กำหนด 50 mg/kg เนื่องจากผู้ประกอบการโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต้องการให้ลำไยสดมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นสีผิวของเปลือกลำไยมีสีเหลืองนวลเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และยืดระยะเวลาวางจำหน่ายและขนส่งไปยังเมืองต่างๆ ปัญหาดังกล่าวกรมวิชาการเกษตรได้ทบทวนระบบควบคุมการส่งออกลำไยสดเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตลำไยสดส่งออกของไทย และการควบคุมกำกับดูแลให้มีคุณภาพและความปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาผู้ส่งออกที่ถูกแจ้งระงับการนำเข้า โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบการตระหนักรับรู้ถึงความสำคัญในฐานะผู้ผลิตสินค้าอาหารให้มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค รับทราบปัญหาและผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกลำไยสดของประเทศ หากประเทศคู่ค้าประกาศระงับการนำเข้า จนได้ข้อสรุปร่วมกันในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการให้ควบคุมการรมลำไยและจัดทำเป็นเอกสารให้สอดคล้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตร หลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้ด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (มกษ.1004-2557) และการพัฒนาเทคนิคการตรวจประเมินให้กับผู้ตรวจประเมินให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะการตรวจประเมินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันสอดคล้องกับมาตรฐาน รวมถึงการเพิ่มระดับการควบคุม ติดตาม และการบังคับ ใช้กฎหมายปัจจุบัน (2559) มีผู้ประกอบการฯ ได้รับการรับรองตาม มกษ.1004-2557 จำนวน 145 โรง จากการตรวจติดตามการค้นหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขโรงรมฯ ที่ได้รับการแจ้งเตือน สามารถยื่นขอฟื้นฟูสิทธิการส่งออกให้กลับมาส่งออกลำไยสดได้อีกคร้ัง