คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28)
+--- เรื่อง: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (/showthread.php?tid=1447)



การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน - doa - 07-12-2016

การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
ฐปนีย์ ทองบุญ, ไพบูรณ์ เปรียบยิ่ง, วิริยา ประจิมพันธุ์, กิรนันท์ เหมาะประมาณ, จินตนาพร โคตรสมบัติ และสุรกิตติ ศรีกุล
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครศรีธรรมราช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

          การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการจัดการสวนโดยวิธีผสมผสาน การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีขยายผลสู่เกษตรกร ดำเนินการวิจัยและพัฒนาต้ังแต่ปี 2553 ถึง 2558 ในจังหวัดนครศรีธรรมราชพบว่า การทดสอบและพัมนาการปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามในแปลงปลูกของเกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีในการเตรียมแปลงปลูกและระบบการปลูกที่เหมาะสม ทำให้ต้นส้มโอมีการเจริญเติบโตดี และเกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร สามารถแนะนำเกษตรกรที่ต้องการปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามในพื้นที่ได้ การทดสอบการจัดการสวนตามวิธีแนะนำที่ปรับให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีของเกษตรกร 31 - 35 ผลต่อต้น สัดส่วนรายได้ต่อต้นทุนผันแปร (Benefit Cost Ratio: BCR) มีค่าสูงกว่าประมาณ 2 เท่า การสำรวจชนิดและปริมาณการระบาดของศัตรูพืชระหว่างการพัฒนาของส้มโอ สามารถจัดทำเป็นปฏิทินพัฒนาการและการปฏิบัติดูแลรักษาในรอบปี เพื่อเป็นคำแนะนำการจัดการสวนส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามเฉพาะพื้นที่ ซึ่งจากการสำรวจพื้นที่พบว่ามีแหล่งปลูกสำคัญที่มีลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ และสมบัติของดินคล้ายคลึงกัน จากผลการศึกษานำไปสู่การขยายผลด้วยการจัดทำแปลงต้นแบบการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามที่ถูกต้องในแปลงเกษตรกรครอบคลุมพื้นที่ปลูกส้มโอจำนวน 20 แปลง และจัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการสวนส้มโอจำนวน 5 รุ่น มีเกษตรกรเข้าอบรมรวม 250 ราย