คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง RRIT 251 ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28)
+--- เรื่อง: การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง RRIT 251 ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (/showthread.php?tid=1439)



การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง RRIT 251 ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน - doa - 07-12-2016

การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง RRIT 251 ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
สมคิด ดำน้อย, พิศมัย จันทุมา, อรสิรี ดำน้อย, พงษ์มานิตย์ ไทยแท้, สุธีรา ถาวรรัตน์, สุรกิตติ ศรีกุล และธีรชาต วิชิตชลชัย
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่, ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา การยางแห่งประเทศไทย และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

          การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง RRIT251 ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ต้ังแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึง เดือนมีนาคม 2558 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระบบกรีดยางที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง RRIT 251 ในสภาพพื้นที่ภาคใต้ตอนบนโดยเริ่มทำการทดลองกับต้นยางพันธุ์ RRIT 251 อายุ 8 ปี วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 7 วิธีการดังนี้ วิธีการที่ 1 ระบบกรีดครึ่งลำต้น/กรีดหนึ่งวันเว้นหนึ่งวัน (S/2 d2) วิธีการที่ 2 ระบบกรีดครึ่งลำต้น/กรีดติดต่อกันสองวันเว้นหนึ่งวัน (S/2 d1 2d3) วิธีการที่ 3 ระบบกรีดครึ่งลำต้น/กรีดติดต่อกันสามวันเว้นหนึ่งวัน (S/2 d1 3d4) วิธีการที่ 4 ระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้น/กรีดติดต่อกันสองวันเว้นหนึ่งวัน (S/3 d1 2d3) วิธีการที่ 5 ระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้น/กรีดติดต่อกันสามวันเว้นหนึ่งวัน (S/3 d1 3d4) วิธีการที่ 6 ระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้น/กรีดติดต่อกันทุกวัน (S/3 d1)และระบบกรีดที่ 7 ระบบกรีดหนึ่งในสี่ของลำต้น/กรีดติดต่อกันทุกวัน (S/4 d1) พบว่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ของแต่ละระบบกรีดมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญในทุกปี กรีดต้ังแต่ปีกรีดที่ 1 (ต.ค.53 - มี.ค.54) ถึงปีกรีดที่ 5 (พ.ค. 57 - มี.ค. 58) ท้ังนี้ระบบกรีดครึ่งลำต้น/กรีดติดต่อกันสามวันเว้นหนึ่งวัน (S/2 d1 3d4) และระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้น/กรีดติดต่อกันทุกวัน (S/3 d1)ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่มากที่สุด 503.90 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และ 471.53 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ รองลงมาคือ ระบบกรีดครึ่งลำต้น/กรีดติดต่อกันสองวันเว้นหนึ่งวัน (S/2 d1 2d3) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 437.20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี จากการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อระบบการกรีดยาง เช่น ผลผลิต จำนวนวันกรีด การใช้แรงงาน อัตราการสิ้นเปลืองเปลือก อาการเปลือกแห้ง อายุการกรีดยาง และผลตอบแทนสุทธิ พบว่าระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้น/กรีดติดต่อกันทุกวัน (S/3 d1) และระบบกรีดหนึ่งในสี่ของลำต้น/กรีดติดต่อกันทุกวัน (S/4 d1) เป็นระบบกรีดที่เหมาะสมมากที่สุดกับพันธุ์ยาง RRIT 251 ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนที่มีจำนวนวันฝนตกเฉลี่ย 131 วันต่อปี