คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษา สำรวจ และทดสอบการใช้งานเครื่องอัดฟางแบบต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในประเทศไทย - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: ศึกษา สำรวจ และทดสอบการใช้งานเครื่องอัดฟางแบบต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในประเทศไทย (/showthread.php?tid=1430)



ศึกษา สำรวจ และทดสอบการใช้งานเครื่องอัดฟางแบบต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในประเทศไทย - doa - 07-01-2016

ศึกษา สำรวจ และทดสอบการใช้งานเครื่องอัดฟางแบบต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในประเทศไทย
สันธาร นาควัฒนานุกูล, ชัชชัย ชัยสัตตปกรณ์, วิชัย โอภานุกุล และจารุวัฒน์ มงคลธนทรรศ

          ได้ดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับการใช้เครื่องอัดฟางแบบต่างๆ ที่มีในประเทศพบว่า เครื่องอัดฟางที่เกษตรกรใช้งานอยู่มี 2 ชนิด คือ แบบทำงานอยู่กับที่ และแบบทำงานอัตโนมัติ แบบทำงานอยู่กับที่ต้องอาศัยแรงงานในการป้อและมัดฟาง จึงต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการปฏิบัติงาน แต่มีข้อดีคือ มีราคาถูก การซ่อมแซมบำรุงรักษาทำได้ง่าย และสามารถผลิตได้เองในประเทศ สำหรับเครื่องแบบทำงานอัตโนมัติเป็นเครื่องที่ใช้กับรถแทรคเตอร์ มีระบบเก็บรวบรวมฟางข้าวในแปลง ระบบอัดและระบบมัดฟาง ซึ่งสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ จึงสามารถใช้ผู้ปฏิบัติงานเพียงคนเดียวได้ แต่มีข้อเสียคือ เครื่องมีราคาแพง การซ่อมแซมบำรุงรักษาทำได้ยาก และเครื่องส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือสองที่นำเข้าจากต่างประเทศ จากการทดสอบเครื่องทั้งสองชนิดพบว่า เครื่องอัดฟางแบบทำงานอยู่กับที่มีอัตราการทำงานประมาณ 30 - 50 ก้อน/ชั่วโมง ในขณะที่เครื่องแบบทำงานอัตโนมัติมีอัตราการทำงานประมาณ 100 - 150 ก้อน/ชั่วโมง สำหรับต้นทุนการผลิตฟางแท่งอัดก้อนเมื่อไม่คิดคำนวณต้นทุนของราคาเครื่อง พบว่าเครื่องอัดฟางแบบทำงานอยู่กับที่มีต้นทุนการผลิตฟางแท่งอัดก้อนที่แพงกว่า เนื่องจากต้องใช้แรงงานในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะในส่วนของการป้อนฟางมาก จึงได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องอัดฟางแบบทำงานอยู่กับที่ ซึ่งเป็นเครื่องที่ผลิตในประเทศ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยดำเนินการพัฒนาในส่วนของระบบการป้อนฟาง เพื่อลดแรงงานและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของเครื่องชนิดนี้ลง