คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การศึกษาวิธีการลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลักเพื่อการบริโภค - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: การศึกษาวิธีการลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลักเพื่อการบริโภค (/showthread.php?tid=1413)



การศึกษาวิธีการลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลักเพื่อการบริโภค - doa - 06-30-2016

การศึกษาวิธีการลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลักเพื่อการบริโภค
ศุภรา อัคคะสาระกุล, อมรา ชินภูติ และอรุณศรี วงษ์อุไร

          แอฟลาทอกซินเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เป็นสารพิษที่สร้างโดยเชื้อรา Aspergillus flavus และ A. parasiticus พบมากในธัญพืช เครื่องเทศ และสมุนไพร รวมทั้งในเมล็ดแมงลัก ที่เป็นผลิตผลเกษตรที่ประชาชนนิยมบริโภคเพื่อเป็นทั้งอาหารและยา จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงทำการศึกษาวิธีการลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลักเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค โดยทำการศึกษาวิธีการลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินด้วยวิธีการทางกายภาพ (Physical methods) 4 วิธี คือ การอบด้วยตู้อบความร้อน การใช้ไมโครเวฟ การตากแดด และการใช้แสงอัลตราไวโอเลต ผลการทดลองพบว่าการนำเมล็ดแมงลักอบด้วยตู้อบความร้อน ที่ระดับความร้อน 70 องศาเซลเซียส นาน 30 และ 45 นาที สามารถลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินจากชุดควบคุมได้ 45.6% และ 58.1% ตามลำดับ วิธีการอบด้วยไมโครเวฟ ที่ระดับความร้อนต่ำ นาน 1 และ 3 นาที สามารถลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินจากชุดควบคุมได้ 39.4% และ 32.1% ตามลำดับ ขณะที่วิธีการตากแดดนาน 1 วัน สามารถลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินจากชุดควบคุมได้ 47.5% และวิธีการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตที่ช่วงคลื่นสั้น 254 นาโนเมตร นาน 45 และ 60 นาที สามารถลดปริมาณสารแอฟลาทอกซิน จากชุดควบคุมได้ 22.5% และ 30.1% ตามลำดับ วิธีการทางกายภาพทั้ง 4 วิธี สามารถลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลักได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งผลการทดลองนี้ประชาชนผู้บริโภคสามารถนำไปปฏิบัติได้ เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น