คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบการผลิตพริกให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออกในพื้นที่ภาคตะวันตก - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: การทดสอบการผลิตพริกให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออกในพื้นที่ภาคตะวันตก (/showthread.php?tid=1409)



การทดสอบการผลิตพริกให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออกในพื้นที่ภาคตะวันตก - doa - 06-30-2016

การทดสอบการผลิตพริกให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออกในพื้นที่ภาคตะวันตก
ศักดิ์ดา เสือประสงค์, นิทัศน์ กาญจนภา, สุชาติ เจริญรัตน์, อรัญญา ภู่วิไล, สงัด ดวงแก้ว, บุญศรี อินทร์น้อย และศิริจันทร์ อินทร์น้อย

          การทดสอบการผลิตพริกให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออกในพื้นที่ภาคตะวันตกทำการทดสอบในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตพริกให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ด้วยการนำผลงานวิจัยที่สำเร็จแล้วเข้าเปรียบเทียบกับกรรมวิธีของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค-แมลง สำหรับกรรมวิธีทดสอบใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ สะเดาไทยIII อัตราการใช้ 1 กิโลกรัมต่อ น้ำ 20 ลิตร บิวเวอเรีย อัตราการใช้ 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า อัตราการใช้ 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นำมาพ่นเดือนละ 2 ครั้ง ในกรรมวิธีของเกษตรกรพ่นสารเคมีเดือนละ 1 ครั้ง การปฏิบัติงานให้เกษตรกรทำการสำรวจโรค-แมลง ก่อนพ่นสารและหลังพ่นสาร ทั้งกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้รู้ถึงความแตกต่างของผลการปฏิบัติพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีพบว่า ทั้ง 2 กรรมวิธีทำให้จำนวนต้นที่แมลงศัตรูพริกเข้าทำลายลดน้อยลงและไม่พบการระบาดของโรคพริก และผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตไม่พบกับกรรมวิธีทดสอบแต่พบสารพิษตกค้างกับกรรมวิธีเกษตรกร ซึ่งพบเกินค่า MRL ของ EU ด้านการลงทุนกรรมวิธีทดสอบลงทุนต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกรที่ 21,815.33 และ 24,173.67 บาทต่อไร่ ตามลำดับแต่ค่า BCR พบว่าทั้ง 2 กรรมวิธีควรลงทุนต่อไป สำหรับพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีพบว่า ทั้ง 2 กรรมวิธีทำให้จำนวนต้นที่แมลงศัตรูพริกเข้าทำลายลดน้อยลงและพบการระบาดโรคแอนแทรคโนสเล็กน้อยไม่ระบาดเพิ่มและผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตไม่พบสารพิษตกค้าง 2 ราย ทั้งกรรมวิธีทดสอบและเกษตรกร แต่อีก 2 ราย กรรมวิธีทดสอบพบเกินค่า MRL ของ EU มี 1 ราย ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรพบเกินค่า MRL ของ EU ทั้ง 2 ราย ด้านการลงทุนกรรมวิธีทดสอบลงทุนสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรที่ 20,115.75 และ 19,911.25 บาทต่อไร่ ตามลำดับ แต่ค่า BCR พบว่าทั้ง 2 กรรมวิธีควรลงทุนต่อไป