การศึกษาผลกระทบของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อศัตรูธรรมชาติในข้าวโพดหวาน - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26) +--- เรื่อง: การศึกษาผลกระทบของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อศัตรูธรรมชาติในข้าวโพดหวาน (/showthread.php?tid=1377) |
การศึกษาผลกระทบของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อศัตรูธรรมชาติในข้าวโพดหวาน - doa - 06-29-2016 การศึกษาผลกระทบของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อศัตรูธรรมชาติในข้าวโพดหวาน รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย, ประภัสสร เชยคำแหง และรุจ มรกต เพื่อศึกษาผลกระทบของสารป้องกันกำจัดแมลงที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในข้าวโพดหวานต่อแมลงศัตรูธรรมชาติชนิดที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ แมลงหางหนีบ (Proreus simulans Stallen) แตนเบียนไข่ Trichogramma confusum Viggiani และ ด้วงเต่า ทำการทดสอบสารป้องกันกำจัดแมลงที่แนะนำให้ใช้ 2 ชนิด จำนวน 5 กรรมวิธี ได้แก่ พ่นสาร fipronil 5% SC อัตรา 20 และ 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ carbaryl 85% WP อัตรา 40 และ 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และน้ำเปล่า ทดสอบในห้องปฏิบัติการ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และในแปลงข้าวโพดหวาน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่พ่นสารมีผลกระทบต่ออัตราการตายของแมลงหางหนีบ และด้วงเต่า รวมทั้งอัตราการออกเป็นตัวเต็มวัย อัตราการตาย และอัตราการเบียนของแตนเบียนไข่ T.confusum ซึ่งอัตราที่แนะนำ fipronil 5% SC อัตรา 20 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีความเป็นพิษร้ายแรงต่อแมลงหางหนีบ และมีพิษปานกลางต่อแตนเบียนไข่ T.confusum แต่ปลอดภัยต่อด้วงเต่า ส่วน carbaryl 85% WP อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร มีความเป็นพิษปานกลางต่อแมลงหางหนีบ และด้วงเต่า และพิษร้ายแรงต่อตัวเต็มวัยแตนเบียนไข่ T.confusum
|