คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การสร้างมันสำปะหลังเตทราพลอยด์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: การสร้างมันสำปะหลังเตทราพลอยด์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (/showthread.php?tid=1376)



การสร้างมันสำปะหลังเตทราพลอยด์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ - doa - 06-29-2016

การสร้างมันสำปะหลังเตทราพลอยด์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
รังษี เจริญสถาพร, อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว และโอภาษ บุญเส็ง
สถาบันวิจัยพืชไร่ และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดระยอง 

          การสร้างมันสำปะหลังเตทราพลอยด์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้ดำเนินการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมันสำปะหลัง 3 พันธุ์ คือ ระยอง 7 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 โดยใช้ตาข้างและตายอดอายุ 30 - 45 วัน เป็น explant ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวด้วยสารละลายเมอร์คิวลิคคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 0.01% เป็นเวลา 20 นาที  แล้วนำมาเพาะเลี้ยงบนอาหาร MS medium ผสมซูโครส 20 ก./ลิตร เป็นเวลา 30 - 45 วัน ได้ต้นกล้ามันสำปะหลังที่สมบูรณ์และแข็งแรง ซึ่งถูกใช้เป็น explant สำหรับชักนำให้เป็นมันสำปะหลังโพลิพลอยด์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการใช้สารละลายโคลชิซินที่ความเข้มข้น 0.002 - 0.003% ผสม DMSO 2% ในสภาพปลอดเชื้อจะได้ explant ที่มีชีวิตรอด จำนวน 33 - 58% ซึ่งสามารถเจริญและพัฒนาต่อไปเป็นต้นกล้าที่มีลักษณะโพลิพลอยด์ที่มีต้นเตี้ย ข้อถี่ ใบหนา เขียวเข้ม หยักเว้าน้อย การเจริญเติบโตช้า มีรากใหญ่และสั้นรวมทั้งมีปริมาณน้อยกว่าต้นปกติ การคัดเลือกมันสำปะหลังโพลิพลอยด์ในสภาพปลอดเชื้อโดยวิธีการตัดเป็นข้อๆ ละ 1 ตา ปฏิบัติซ้ำทุก 4 - 6 ชั่ว จะได้ต้นกล้ามันสำปะหลังโพลิพลอยด์ที่ไม่มีลักษณะ Chimera 100%