คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 5 - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 5 (/showthread.php?tid=1365)



ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 5 - doa - 06-29-2016

ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 5
มณฑา นันทพันธ์, สมศักดิ์ ศรีสมบุญ, ศุภชัย แก้วมีชัย, ชุติมันต์ พานิชศักดิ์พัฒนา, เอนก โชติญาณวงษ์  และวิระศักดิ์
ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เชียงใหม่

          ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 5 (สายพันธุ์ ชม.60-10kr-71) ได้มาจากการนำเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ไปฉายรังสีแกมม่าปริมาณ 10 krad ในปี 2530 เพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ จากนั้นทำการคัดเลือกแบบ Pure Line Selection ในชั่ว M4 และ M5 เพื่อให้ได้สายพันธุ์บริสุทธ์ที่ต้านทานโรคราสนิม ทำการคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ อำเภอสันทราย ระหว่างปี 2532 - 2546 โดยถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 5 มีลักษณะเด่นดังนี้ 1) ต้านทานต่อโรคราสนิมในสภาพไร่ (natural infections) แสดงลักษณะแผลแบบ Reddish Brown (RB) Type 2) ต้านทานต่อเชื้อโรคราสนิม 8 สายพันธุ์ (races) ในห้องปฏิบัติการ โดยให้แผลแบบ RB Type 3) เปอร์เซ็นต์ความเสียหายของใบ เนื่องจากโรคราสนิมต่ำและอัตราความก้าวหน้าความรุนแรงของโรคราสนิมช้า 4) เปอร์เซ็นต์ความเสียหายของผลผลิตลดลง เนื่องจากโรคราสนิมต่ำระหว่างร้อยละ 0 - 17 ในขณะที่พันธุ์เชียงใหม่ 60 ผลผลิตลดลงร้อยละ 10 - 39 5) พันธุ์เชียงใหม่ 5 ให้ผลผลิตสูง 326 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 12 ในสภาพที่มีการระบาดของโรคราสนิม พันธุ์เชียงใหม่ 5 ได้ผ่านการพิจารณาจากกรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2549 แหล่งปลูกที่เหมาะสมคือ เขตภาคเหนือตอนบน และพื้นที่มีการระบาดของโรคราสนิม