คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบพันธุ์และสารสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตเหง้ากระชายดำ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: การทดสอบพันธุ์และสารสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตเหง้ากระชายดำ (/showthread.php?tid=1349)



การทดสอบพันธุ์และสารสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตเหง้ากระชายดำ - doa - 06-29-2016

การทดสอบพันธุ์และสารสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตเหง้ากระชายดำ (อิทธิพลของละติจูดของพื้นที่ปลูกที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตการให้ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตเหง้ากระชายดำ)
กำพล เมืองโคมพัส, จิตอาภา ชมเชย, ประยูร สมฤทธิ์

          การทดสอบพันธุ์และสารสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตการให้ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตเหง้ากระชายดำ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCB) มี 2 กรรมวิธี 7 ซ้ำ คือ สายพันธุ์ ใบแดง (มีสีเนื้อในเหง้า สีม่วงดำ) และสายพันธุ์ ใบเขียว (มีสีเนื้อในเหง้า สีม่วงซีด) มี 14 แปลงย่อยใช้พื้นที่แปลงละ 20 ตารางเมตร ระยะปลูก 20 x 50 เซนติเมตร ที่มีละติจูด 16 องศา 30 ลิปดาเหนือ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 700 เมตร ดำเนินการปีงบประมาณ 2549 ถึง 2551 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์พบว่า พันธุ์กระชายดำมีผลต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิต ในพื้นที่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งในการทดลองปี 2549 กระชายดำพันธุ์ใบแดง มีการเจริญเติบโต ความสูงเฉลี่ย 33.84 เซนติเมตร ความกว้างของใบเฉลี่ย 10.75 เซนติเมตร ความยาวของใบเฉลี่ย 21.87 เซนติเมตร มีการแตกเหง้าเฉลี่ย 20.19 กอต่อเหง้า ให้ผลผลิตเฉลี่ย 597.60 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนพันธุ์ใบเขียวมีการเจริญเติบโตความสูงเฉลี่ย 31.06 เซนติเมตร ความกว้างของใบ เฉลี่ย 11.20 เซนติเมตร ความยาวของใบเฉลี่ย 19.85 เซนติเมตร มีการแตกเหง้าเฉลี่ย 21.09 กอต่อเหง้า ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,102.40 กิโลกรัม/ไร่ ในการทดลองปี 2550 กระชายดำพันธุ์ใบแดง มีการเจริญเติบโตความสูงเฉลี่ย 32.05 เซนติเมตร ความกว้างของใบเฉลี่ย 13.11 เซนติเมตร ความยาวของใบเฉลี่ย 23.00 เซนติเมตร มีการแตกเหง้าเฉลี่ย 21.19 กอต่อเหง้าให้ผลผลิตเฉลี่ย 603.20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนพันธุ์ใบเขียวมีการเจริญเติบโตความสูงเฉลี่ย 32.09 เซนติเมตร ความกว้างของใบเฉลี่ย 12.87 เซนติเมตร ความยาวของใบเฉลี่ย 23.15 เซนติเมตร มีการแตกเหง้าเฉลี่ย 21.41 กอต่อเหง้า ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,138.40 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับสารสำคัญ Antioxidant Index กระชายดำพันธุ์ใบแดงมีค่าเฉลี่ย 6.35 และพันธุ์ใบเขียวมีค่าเฉลี่ย 6.78 และ Total phenolic compound กระชายดำพันธุ์ใบแดงมีค่าเฉลี่ย 0.039 %g ส่วนกระชายดำพันธุ์ใบเขียวมีค่าเฉลี่ย 0.038 %g ซึ่งสรุปได้ว่า สายพันธุ์มีผลต่อผลผลิตกระชายดำส่วนสาระสำคัญไม่แตกต่างกันทางสถิติ