คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ผลของเชื้อยีสต์ K. apiculata และ S. cerevisiae ในการแปรรูปไซเดอร์จากมังคุด - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: ผลของเชื้อยีสต์ K. apiculata และ S. cerevisiae ในการแปรรูปไซเดอร์จากมังคุด (/showthread.php?tid=1327)



ผลของเชื้อยีสต์ K. apiculata และ S. cerevisiae ในการแปรรูปไซเดอร์จากมังคุด - doa - 06-29-2016

ผลของเชื้อยีสต์ Kloeckera apiculata และ Saccharomyces cerevisiae ในการแปรรูปไซเดอร์จากมังคุด
พัชรี ลิมปิษเฐียร, อกนิษฐ์ พิศาลวัชรินทร์ และภัทร์ฌา พุฒเพ็ง

          สารอนุพันธ์แซนโทนในมังคุด (Garcinia mangostana) ได้แก่ สาร α-mangostin และ Gartanin มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อวัณโรค การยับยั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาว และเซลล์มะเร็ง และการป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของ LDL ซึ่งมีผลต่อโรคหัวใจ สารในกลุ่มนี้สามารถพบได้ในเนื้อและน้ำมังคุด จึงศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์จากมังคุดเป็นมังคุดไซเดอร์ด้วยการเติมเชื้อหมัก Kloeckera apiculata และ Saccharomyces cerevisiae เชื้อยีสต์ทั้งสองชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำมังคุด เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารเลี้ยงเชื้อ YM ผลการทดลองพบว่าเชื้อ S. cerevisiae เจริญได้เร็วกว่าเชื้อ K. apiculata และเมื่อเลี้ยงร่วมกับเชื้อ Lactobacillus plantarum พบว่า L. plantarum สามารถเจริญเติบโตร่วมกับเชื้อ S. cerevisiae และเชื้อ K. apiculata ได้ 107 cfu/มิลลิลิตร เมื่อทำการประเมินทางประสาทสัมผัสของการหมักเชื้อร่วมกันทั้งสามตัวพบว่า ไซเดอร์ที่ผ่านการหมัก 5 วัน มีกลิ่นหอมเป็นที่ยอมรับในทดสอบชิมที่คะแนนความชอบระดับปานกลางทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ชิมไม่มีความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่นี้ จากคุณค่าของมังคุดโดยเฉพาะสาร α-mangostin จึงน่าจะมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นมังคุดไซเดอร์ด้วยการหมักในปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการส่งออกยังตลาดประเทศจีน และญี่ปุ่นอันเป็นตลาดหลักของการส่งออกมังคุดสดในปัจจุบัน