การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เอ็นโดสปอร์ B. subtilis สายพันธุ์ดินรากยาสูบ เบอร์ 4 - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26) +--- เรื่อง: การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เอ็นโดสปอร์ B. subtilis สายพันธุ์ดินรากยาสูบ เบอร์ 4 (/showthread.php?tid=1301) |
การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เอ็นโดสปอร์ B. subtilis สายพันธุ์ดินรากยาสูบ เบอร์ 4 - doa - 06-28-2016 การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เอ็นโดสปอร์ Bacillus subtilis สายพันธุ์ดินรากยาสูบ เบอร์ 4 ควบคุมโรคเหี่ยวของขิง บุษราคัม อุดมศักดิ์ และณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล การพัฒนาผลิตภัณฑ์ B. subtilis (Bs) สายพันธุ์ดินรากยาสูบ เบอร์ 4 ให้อยู่ในรูปของเอ็นโดสปอร์เพื่อใช้ควบคุมโรคเหี่ยวของขิง โดยเริ่มจากการทดสอบอาหารเลี้ยงเชื้อเพื่อกระตุ้นการสร้างเอ็นโดสปอร์ของ Bs รวม 21 สูตร ทดสอบความเร็วรอบในการเขย่าเพื่อการบ่มเชื้อ ความทนทานของ Bs ที่อุณหภูมิต่างๆ และทดสอบแปรรูปผลิตภัณฑ์ Bs ผลการทดลองพบว่าอาหาร N 3 และ FFS 1 สามารถกระตุ้นการสร้างเอ็นโดสปอร์ของ Bs ได้สูงสุด เท่ากับ 3.10x10(8) และ 2.1x108 สปอร์/มล. ตามลำดับ ความเร็วรอบ 150 และ 200 รอบ/นาที เหมาะสมต่อการเขย่าเชื้อเพื่อกระตุ้นการสร้างเอ็นโดสปอร์ของ Bs และเอ็นโดสปอร์ของ Bs สามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 100 °ซ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในรูปของเหลวในอาหาร FFS 1 โดยใช้หางนมเป็นสารนำพา พบว่าหลังเก็บผลิตภัณฑ์เป็นเวลา 5 เดือน ปริมาณ Bs ที่มีชีวิตรอดเท่ากับ 3.3x105 โคโลนี/มล. และที่ไม่เติมหางนม มีปริมาณ Bs เท่ากับ 8.3x10(7) โคโลนี/มม. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผงเมื่อเลี้ยงในอาหาร FFS1 ที่ใช้แป้งข้าวโพดและทัลคัมเป็นสารนำพา พบว่าหลังการเก็บรักษาเป็นเวลา 7 เดือน ปริมาณ Bs จากทั้งสองผลิตภัณฑ์มีปริมาณลดลงเหลือ 10(7) โคโลนี/มล. ในขณะที่ปริมาณ Bs จากผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากการเลี้ยง Bs บนอาหาร PSA ซึ่งไม่มีการกระตุ้นการสร้างเอ็นโดสปอร์ ไม่พบ Bs ที่มีชีวิตรอด
|