คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบเครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าวแห้ง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: การทดสอบเครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าวแห้ง (/showthread.php?tid=1296)



การทดสอบเครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าวแห้ง - doa - 06-28-2016

การทดสอบเครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าวแห้ง
ชัชชัย ชัยสัตตปกรณ์, สันธาร นาควัฒนานุกูล, วิชัย โอภานุกุล และจารุวัฒน์ มงคลธนทรรศ
กลุ่มทดสอบและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร

          โครงการทดสอบเครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าวแห้ง เป็นโครงการที่นำเครื่องปลูกข้าวชนิดต่างๆ 5 ชนิด ได้แก่ 1) เครื่องหว่านข้าวแห้งแบบติดรถแทรกเตอร์ 2) เครื่องหยอดข้าวแห้งแบบติดรถแทรกเตอร์ 3) เครื่องหว่านข้าวแห้งแบบติดรถไถเดินตาม 4) เครื่องหยอดข้าวแห้งแบบติดรถไถเดินตามและ 5) เครื่องพ่นหว่านเมล็ดข้าวแบบสะพายหลัง ที่ผ่านการศึกษาและพัฒนามาในระดับหนึ่งแล้วไปดำเนินการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในส่วนของการทดสอบในสภาพการใช้งานจริงระดับเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำการปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ ที่พบเพิ่มเติม ผลการดำเนินงานในส่วนของการพัฒนาเครื่องได้ดำเนินการออกแบบ ปรับปรุงแก้ไขชิ้นส่วนต่างๆของเครื่อง เช่น ถังบรรจุเมล็ด อุปกรณ์กำหนดเมล็ด ชุดกระจายเมล็ด โครงเครื่องต่างๆ เป็นต้น ทำให้เครื่องมีประสิทธิภาพและแข็งแรงเหมาะสมกับการใช้งานยิ่งขึ้น จากการดำเนินงานพบว่า ในส่วนของเครื่องหว่านชนิดต่างๆ มีศักยภาพสูงที่จะเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปใช้ต่อไป เนื่องจากเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมปลูกข้าวแบบหว่านแห้งอยู่แล้วเกษตรกรมีความคุ้นเคยและการใช้เครื่องสามารถลดเวลา แรงงาน ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าลงได้อีกทั้งเมล็ดที่หว่านมีการกระจายที่สม่ำเสมอ แต่ในส่วนของเครื่องหยอดทั้งแบบติดรถแทรกเตอร์ และรถไถเดินตามเหมาะสมกับเกษตรกรที่คุ้นเคยกับการปลูกข้าวแบบหยอดหรือการปลูกข้าวที่ต้องการคุณภาพสูงเท่านั้นไม่เหมาะสมกับเกษตรกรทั่วไป เนื่องจากปัญหาของวัชพืช การเตรียมดินที่ต้องการความประณีตมาก ทำให้การปลูกแบบหยอดมีต้นทุนที่สูงไม่เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรทั่วไป สำหรับการพิจารณาเลือกเครื่องปลูกข้าวชนิดต่างๆ ไปใช้งาน เกษตรกรควรพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ที่เกษตรกรมีอยู่ ทั้งในด้านทุนทรัพย์สภาพและขนาดของแปลงเครื่องยนต์ต้นกำลังพื้นที่การใช้เครื่องต่อปี ความคุ้มค่าเมื่อซื้อเครื่องไปใช้งานความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เป็นต้น