การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง C. hispidus Green และ P. litchi Cox ในลิ้นจี่ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง C. hispidus Green และ P. litchi Cox ในลิ้นจี่ (/showthread.php?tid=1275) |
การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง C. hispidus Green และ P. litchi Cox ในลิ้นจี่ - doa - 05-26-2016 การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus litchi Cox ในลิ้นจี่ ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, บุษบง มนัสมั่นคง, ชมัยพร บัวมาศ และวนาพร วงษ์นิคง กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช สถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง, Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus litchi Cox ในลิ้นจี่ ดำเนินการสำรวจในแหล่งปลูกจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน และสมุทรสงคราม ในระยะเก็บเกี่ยวผลลิ้นจี่ โดยสุ่มสำรวจแมลงในแปลงโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) คือ สุ่มตัดช่อผลลิ้นจี่ต้นละ 4 ทิศๆ ละ 1 ช่อ จำนวน 10 ต้น/แปลง ดำเนินการสำรวจในปีการผลิต 2554 - 2556 พบการระบาดของเพลี้ยแป้งไม่รุนแรงแต่พบทุกแหล่งผลิตลิ้นจี่ที่เข้าทำการสำรวจ พบเพลี้ยแป้งที่ลงทำลายผลลิ้นจี่ 4 ชนิด โดยพบชนิดที่เฝ้าระวัง C. Hispidus ที่แหล่งปลูกจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย และเพลี้ยแป้งสกุล Planococcus ที่แหล่งผลิตจังหวัดน่าน พะเยา และเชียงราย ซึ่งไม่สามารถจำแนกได้ในระดับชนิดเนื่องจากสภาพตัวอย่างไม่สมบูรณ์ และมีจำนวนน้อย นอกจากชนิดเฝ้าระวังแล้วยังพบการลงทำลายของเพลี้ยแป้งอีก 2 ชนิดคือ Ferrisia vergata (Cockerell), Pseudococcus cyptus Hempel
|