คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยเชื้อ A. avenae subsp. citrulli ด้วยวิธี PCR-ELISA - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: การพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยเชื้อ A. avenae subsp. citrulli ด้วยวิธี PCR-ELISA (/showthread.php?tid=1269)



การพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยเชื้อ A. avenae subsp. citrulli ด้วยวิธี PCR-ELISA - doa - 05-26-2016

การพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยเชื้อ Acidovorax avenae subsp. citrulli ด้วยวิธี PCR-ELISA
วันเพ็ญ ศรีชาติ, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาสน์ และกาญจนา วาระวิชะนี
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ในการตรวจสอบเชื้อ A.avenae subsp. citrulli ได้รับเชื้อจำนวน 2 ไอโซเลท ที่แยกได้จากผลแตงโม โดยไพรเมอร์ที่ใช้ในการตรวจสอบมี จำนวน 2 คู่ ได้แก่ WFB1 (F) 5’-GAC CAG CCA CAC TGG GAC-3’/WEB2 ® 5’-CTG CCG TAC TCC AGC GAT-3’ และ WFBA (F) 5’-CGA CCA GCC ACA CTG GGA -3’/ WFBA ® 5’- CCT CTG CCG TAC TCC AGC G-3’ ส่วน Probe จำนวน 1 เส้น คือ 5'-BIO-CCG TAA GAA TAA GCA CCG GC-3' และจากการตรวจสอบประสิทธิภาพของลำดับเบสของไพรเมอร์ (primer) ไพรเมอร์ทั้ง 2 คู่ สามารถสังเคราะห์แถบดีเอ็นเอของเชื้อ A.avenae subsp. citrulli ที่ความเข้มข้น 107 cfu/ml ได้ชัดเจน โดยเฉพาะ ไพรเมอร์คู่ WFBA (F)/WFBA ® สามารถตรวจพบแถบดีเอ็นเอได้ชัดเจนกว่าไพรเมอร์คู่ WFB1 (F) / WEB2 ® ในส่วนของการติดฉลากด้วยสาร digoxigenin (DIG) กับไพรเมอร์และเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอของเชื้อ A. avenae subsp. citrulli และชุดควบคุมด้วยเทคนิคพีซีอาร์พบว่า ได้ PCR product ของสารแขวนลอยเชื้อแบคทีเรีย จำนวน 9 ตัวอย่าง ที่ความเข้มข้นต่างๆ คือ 1, 10, 10(2), 10(3), 10(4), 10(5), 10(6), 10(7) และ 10(8) cfu/ml และชุดควบคุม จำนวน 2 ตัวอย่าง คือ positive control และ negative control