การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมธูปฤาษี - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมธูปฤาษี (/showthread.php?tid=1217) |
การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมธูปฤาษี - doa - 05-19-2016 การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมธูปฤาษี คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย และอัณศยา สุริยะวงศ์ตระการ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมธูปฤาษี ในสภาพเรือนทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบ split plot in RCB มี 3 ซ้ำ มีปัจจัยที่ 1 เป็นการพ่นสารในสภาพมีน้ำขังและสภาพไม่มีน้ำขัง ปัจจัยที่ 2 เป็นวิธีการกำจัดวัชพืช 9 กรรมวิธี คือ 2,4-D 95 % W/V SC, 2,4-D 95 % W/V SL + สารจับใบ, glyphosate isopropylamonium 48% W/V SL + สารจับใบ, glufosinate ammonium 15% W/V SL + สารจับใบ, paraquat dichloride 27.6 % W/V SL + สารจับใบ, aminocyclopyrachlor 50% W/V SG + สารจับใบ, triclopyr 66.8% W/V EC + สารจับใบ, fluroxypyr 28.8% W/V EC + สารจับใบ อัตรา 240, 240, 360, 240, 240, 20, 48 และ 48 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามลำดับ เปรียบเทียบกับวิธีไม่กำจัดวัชพืชพบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืช glufosinate ammonium 15% W/V SL + สารจับใบ อัตรา 240 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ และสาร paraquat dichloride 27.6 % W/V SL + สารจับใบ อัตรา 240 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ทั้งในสภาพน้ำขัง และสภาพไม่มีน้ำขัง มีผลทำให้ต้นธูปฤาษีตาย มีผลทำให้ธูปฤาษีตายที่ 21 และ 30 วันหลังพ่นสาร ทั้งสภาพน้ำขัง และสภาพไม่มีน้ำขัง และยังไม่พบการฟื้นตัวของธูปฤาษีหลังจากพ่นสารไปแล้ว 60 วัน และมีผลทำให้มีน้ำหนักแห้งธูปฤาษีน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร
|