คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา D. bryoniae - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา D. bryoniae (/showthread.php?tid=1214)



การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา D. bryoniae - doa - 05-19-2016

การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Didymella bryoniae ( Auersw.) Rehm. สาเหตุโรคยางไหล
ทัศนาพร ทัศคร, วัชรี วิทยวรรณกุล, ธารทิพย ภาสบุตร และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ทำการเก็บตัวอย่างผลแตงเมล่อนที่ปกติและผลแตงที่เป็นโรคยางไหลจากแปลงเกษตรกร อ.อู่ทอง และหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี มาทดสอบการติดเชื้อบนเมล็ด และได้นำเมล็ดที่ได้จากผลแตงเมล่อนที่เป็นโรคมาทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคที่ติดมากับเมล็ด โดยแช่เมล็ดแตงเมล่อนลงในสารละลายป้องกันกำจัดโรคพืช ได้แก่ สาร azoxystrobin 25% W/V SC, mancozeb 80%WP , procloraz 50%WP, propineb 70%WP, propiconazole 25% W/V EC, triforine 19% W/V EC ที่ระดับความเข้มข้น 100 ppm. เปรียบเทียบกับกรรมวิธีแช่น้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อนาน 30 นาที ผึ่งเมล็ดให้แห้ง แล้วนำไปวางลงบนอาหาร WA จำนวน 10 เมล็ดต่อซ้ำ ทั้งหมด 10 ซ้ำ บ่มเชื้อที่อุณหภูมิห้อง และตรวจนับจำนวนเมล็ดที่พบมีการเจริญของเชื้อรา D. bryoniae หลังการทดลอง 1 วัน พบว่า สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการติดเชื้อบนเมล็ดได้ดี คือ สาร azoxystrobin 25% W/V SC ซึ่งพบเมล็ดที่งอกปกติ จำนวน 72 เมล็ด รองลงมาได้แก่ สาร procloraz 50%WP, propineb 70%WP และสาร mancozeb 80%WP ซึ่งพบเมล็ดที่งอกปกติ จำนวน 58, 55 และ 54 เมล็ด ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกรรมวิธีแช่น้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ พบว่ามีเมล็ดที่งอกปกติ จำนวน 31 เมล็ด