คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาความเป็นพิษและประสิทธิภาพของสบู่ดำ และมะคำดีควาย เพื่อใช้เป็นสารกำจัดหอยสาลิกา - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: ศึกษาความเป็นพิษและประสิทธิภาพของสบู่ดำ และมะคำดีควาย เพื่อใช้เป็นสารกำจัดหอยสาลิกา (/showthread.php?tid=1206)



ศึกษาความเป็นพิษและประสิทธิภาพของสบู่ดำ และมะคำดีควาย เพื่อใช้เป็นสารกำจัดหอยสาลิกา - doa - 05-18-2016

ศึกษาความเป็นพิษและประสิทธิภาพของสบู่ดำ Jatropha curcus  และมะคำดีควาย Sapidus emajinatus เพื่อใช้เป็นสารกำจัดหอยสาลิกา Sarika sp. และหอยดักดาน Cryptozona siamensis
ปราสาททอง พรหมเกิด, ปิยาณี หนูกาฬ, ดาราพร รินทะรักษ์, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         ผลการทดสอบสารสกัดสบู่ดำ และสารสกัดมะคำดีควายกับหอยสาริกา และหอยดักดาน ในห้อง ปฏิบัติการกลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร ตามแผนการทดลอง CRD จำนวน 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ โดยสารสกัดแต่ละชนิดใช้ อัตรา 3 และ 5 มิลลิลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร คัดแยกหอยสาริกาและหอยดักดาน ที่สมบูรณ์ใส่กล่อง ขนาด 6 x 10 x 3 เซนติเมตร กล่องละ 5 ตัว แล้วให้อาหารปลาชนิดเม็ดเลี้ยงไว้ 1 คืน จึงพ่นสารสกัดแต่ละชนิดตามอัตราที่กำหนด ตามแผนการทดลอง ลงในกล่องให้ถูกตัวหอย หลังทดสอบ 3 วัน พบว่า หอยดักดานตาย 50, 50, 100, 100 และ 0 % ตามลำดับ ส่วนหอยสาริกาตาย 25, 100, 100, 100 และ 0 % ตามลำดับ ผลการศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยา พบเซลล์และเนื้อเยื่ออวัยวะ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ไต อวัยวะสืบพันธุ์ของหอยสาริกาและหอยดักดานที่ได้รับสารสกัดมะคำดีควาย และสารสกัดสบู่ดำถูกทำลาย เป็นสาเหตุให้หอยตาย และทำการทดสอบต่อทั้งในสภาพกึ่งแปลงทดลองและสภาพแปลงทดลอง โดยวางแผนการทดลอง แบบ RCB 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ คือ สารสกัดมะคำดีควาย 4%W/V พ่นและทำเป็นเหยื่อพิษ (แป้ง : อาหารปลา 5:1) สารสกัดสบู่ดำ 8%W/V พ่นและทำเป็นเหยื่อพิษและกรรมวิธีควบคุมให้อาหารปลา โดยใส่หอยดักดานและหอยสาริกาชนิดละ 5 ตัว ในอ่างซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ในเรือนทดลองของกลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร หลังทดสอบ 3 วัน หอยดักดานตายสะสมเฉลี่ย 85.36, 65.4, 35.41, 35.08 และ 0 % ตามลำดับ และหอยสาริกาตายสะสมเฉลี่ย 75.09, 59.85, 40.82, 35.86 และ 0 % ตามลำดับ และได้ทดสอบประสิทธิภาพในแปลงทดลองซึ่งเป็นสวนส้มจี๊ดที่มีความสูง 0.7 - 1.0 เมตร ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี กับหอยดักดานมีประชากรเฉลี่ย 26.12 ตัว/ตารางเมตร โดยใช้ตาข่ายพลาสติกตาถี่กันรอบแปลงย่อยขนาด 2×5 เมตรเพื่อไม่ให้หอยหนีตามแผนการทดลองแบบ RCB 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ (ซ้ำละ 2 ต้น) คือ สารสกัดมะคำดีควาย 4%W/V สารสกัดสบู่ดำ 8%W/V สารสกัดกากชาน้ำมัน 4%W/V สารเมทัลดีไฮด์ 80% WP และกรรมวิธีไม่ใช้สาร หลังทดสอบ 3 วัน หอยตายสะสมเฉลี่ย 74.67, 17.66, 85.23, 97.74 และ 0 % ตามลำดับ