คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาวิธีการรักษาสปอร์โรซีสต์ของค๊อคซิเดียนโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: ศึกษาวิธีการรักษาสปอร์โรซีสต์ของค๊อคซิเดียนโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis (/showthread.php?tid=1197)



ศึกษาวิธีการรักษาสปอร์โรซีสต์ของค๊อคซิเดียนโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis - doa - 05-18-2016

ศึกษาวิธีการรักษาสปอร์โรซีสต์ของค๊อคซิเดียนโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อในการผลิตสารชีวินทรีย์กำจัดหนู
วิชาญ วรรธนะไกวัล, ปราสาททอง พรหมเกิด, ดาราพร รินทะรักษ์ และสมเกียรติ กล้าแข็ง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การผลิตสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ของโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis ได้สารแขวนลอย โปรโตซัว S. singaporensis ที่มีความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคในหนูสูงและแบ่งเพื่อการวิจัยการเก็บรักษา ซึ่งทำการแบ่งเป็น 3 การทดลองย่อย โดยทำการตรวจสอบทุกระยะ 6 เดือน คือ ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 6 เดือน, 1 ปี, 2 ปี, 2 ปี 6 เดือน, 3 ปี, 3 ปี 6 เดือน และ 4 ปี ตามลำดับ การทดลองย่อยที่ 1 โดยเก็บรักษาในน้ำดื่มสะอาด และในสารละลายเกลือ PBS 1% ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4-10 องศาเซลเซียส โดยที่สารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ที่เก็บรักษาในน้ำดื่มสะอาดนาน 6 เดือน – 1 ปี สามารถทำให้หนูท้องขาวชุดละ 4 ตัว ป่วยและตายทั้งหมด (100%) ในขณะที่เก็บรักษาในน้ำดื่มสะอาดนาน 2 ปี พบหนูท้องขาวป่วยและตายประมาณ 50% ส่วนสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ที่เก็บรักษาในสารละลายเกลือ PBS 1% นาน 6 เดือน ป่วยและตายทั้งหมด และที่เก็บรักษาในตู้เย็นนาน 1 ปี และ 2 ปี พบหนูท้องขาวป่วยและตาย คิดเป็น 75% และ 50% ตามลำดับ ขณะที่เปอร์เซนต์การรอดชีวิตของสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ที่เก็บรักษาในน้ำดื่มสะอาดและในสารละลายเกลือ PBS 1% ที่อุณภูมิ 4-10 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี ใกล้เคียงกันขณะที่ระยะเวลา 2 ปี เปอร์เซ็นต์ การรอดชีวิตของสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ที่เก็บรักษาในสารละลายเกลือ PBS 1% เริ่มสูงกว่าอย่างชัดเจน

          สำหรับการทดลองย่อยที่ 2 ทำการเก็บรักษาสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis โดยวิธี Sugar flotation ตรวจสอบการมีชีวิตของเชื้อโปรโตซัวระยะสปอร์โรซีสต์ โดยการใช้สีย้อม nucleic acid พบเปอร์เซนต์การรอดชีวิตจนถึงระยะเวลา 2 ปี ประมาณ 77% ในส่วนของการทดลองย่อยที่ 3 ทำการเก็บรักษาสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ในไนโตรเจนเหลว ภายในระยะเวลา 1 ปี สามารถทำให้หนูท้องขาว ชุดละ 4 ตัว ป่วยและตายทั้งหมด (100%) แต่เมื่อเพิ่มระยะเวลาการเก็บรักษาเป็น 2 ปี ไม่สามารถทำให้หนูทดลองตายได้เลย