การคัดเลือกและทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อรา D. bryoniae - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: การคัดเลือกและทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อรา D. bryoniae (/showthread.php?tid=1194) |
การคัดเลือกและทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อรา D. bryoniae - doa - 05-18-2016 การคัดเลือกและทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อรา Didymella bryoniae สาเหตุโรคยางไหลในสภาพแปลงทดลอง ทัศนาพร ทัศคร, วัชรี วิทยวรรณกุล, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล และธารทิพย ภาสบุตร กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ทดสอบประสิทธิภาพเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ จำนวน 10 ไอโซเลท ในการยับยั้งการเกิดแผลบนใบแตงเมล่อนในสภาพโรงเรือนทดลอง โดยทำการพ่นสารแขวนลอยของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ หลังการปลูกเชื้อสาเหตุโรคที่ใบ 24 ชม. พ่นเชื้อทุก 5 วัน จำนวน 3 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดแผลบนใบแตงได้ดีหลังการพ่นเชื้อ 3 ครั้ง มี 3 ไอโซเลท คือ BSS32, BSS37 และ BSS65 เพราะสามารถยับยั้งการเกิดแผลและควบคุมขนาดของแผลไม่ให้ลุกลามเร็ว ขนาดของแผลที่เกิดขึ้นคือ 2.45, 2.47 และ 2.34 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการกรรมวิธีเปรียบเทียบพ่นน้ำอย่างเดียว มีขนาดของแผลคือ 3.35 เซนติเมตร
|