คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae สูตรผงควบคุมแมลงศัตรูพืช - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae สูตรผงควบคุมแมลงศัตรูพืช (/showthread.php?tid=1182)



การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae สูตรผงควบคุมแมลงศัตรูพืช - doa - 03-08-2016

การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae สูตรผงในการควบคุมแมลงศัตรูพืช
สาทิพย์ มาลี และวิไลวรรณ เวชยันต์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae สูตรผงในการควบคุมแมลงศัตรูพืช โดยปี 2554 ดำเนินการทดลองในมะลิ เพื่อควบคุมหนอนเจาะดอกมะลิ จากการทดสอบประสิทธิภาพไส้เดือนฝอยควบคุมหนอนเจาะดอกมะลิอัตรา 500 1000 และ 2000 ตัว/มล. ในห้องปฏิบัติการพบว่า การใช้ไส้เดือนฝอยอัตรา 1000 และ 2000 ตัว/มล. หนอนเจาะดอกมะลิมีอัตราการตาย 100 เปอร์เซ็นต์ หลังทำการทดลอง 24 ชั่วโมง ส่วนการใช้ไส้เดือนฝอยอัตรา 500 ตัว/มล หนอนเจาะดอกมะลิมีอัตราการตาย 100 เปอร์เซ็นต์ หลังทำการทดลอง 48 ชั่วโมง อัตราการอยู่รอดของไส้เดือนฝอยบนต้นมะลิ หลังจากพ่นไส้เดือนฝอย ในสภาพโรงเรือนที่โรงเรือนกลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชพบว่า ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae สูตรผงอัตรา 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถคงอยู่บนต้นมะลิได้ประมาณ 67.69 27.36 และ 6.72 เปอร์เซ็นต์ หลังจากพ่นไส้เดือนฝอย 24 48 และ 72 ชั่วโมง การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae สูตรผงควบคุมหนอนเจาะดอกมะลิในแปลงเกษตรกรที่จังหวัดชลบุรีพบว่า กรรมวิธีพ่นไส้เดือยฝอยสูตรผงอัตรา 40 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นไส้เดือยฝอยสูตรผงอัตรา 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธภาพในการควบคุมหนอนเจาะดอกมะลิได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่น

          การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae สูตรผงควบคุมด้วงหมัดผักในแปลงเกษตรกรที่จังหวัดนนทบุรี พบการระบาดของด้วงหมัดผักตัวเต็มวัยในแต่ละกรรมวิธีไม่ความแตกต่างกัน แต่พบความเสียหายของหัวผักกาดในแปลงที่ใช้ไส้เดือนฝอยอัตรา 40 และ 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร และแปลงที่พ่นด้วยต้องสารฆ่าแมลง fipronil 5% sc อัตรา 40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตรน้อยกว่าแปลงอื่นๆ ทำการทดลองซ้ำเพื่อยืนยันผลการทดลองในปี 2557 ต่อไป