คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus (/showthread.php?tid=118)



การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus - doa - 10-14-2015

การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus litchi Cox ในลิ้นจี่
ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, บุษบง มนัสมั่นคง, ชมัยพร บัวมาศ และวนาพร วงษ์นิคง
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง, Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus litchi Cox ในลิ้นจี่ ดำเนินการสำรวจในแหล่งปลูกจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน และสมุทรสงคราม ในระยะเก็บเกี่ยวผลลิ้นจี่ โดยสุ่มสำรวจแมลงในแปลงโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) คือ สุ่มตัดช่อผลลิ้นจี่ต้นละ 4 ทิศๆ ละ 1 ช่อ จำนวน 10 ต้น/แปลง ดำเนินการสำรวจระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2554 ผลการสำรวจจากแหล่งปลูกลิ้นจี่ จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 5 แปลง จังหวัดนาน จำนวน 9 แปลง จังหวัดพะเยา จำนวน 12 แปลง จังหวัดเชียงใหม จำนวน 14 แปลง และจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 แปลง รวม 47 แปลง จากผลผลิต 15,194 ผล น้ำหนัก 234.88 กิโลกรัม พบเพลี้ยแป้งทุกจังหวัดแหล่งผลิตลิ้นจี่ที่เข้าทำการสำรวจโดยจากการจำแนกเบื้องต้นพบว่า เป็นชนิด Ferrisia vergata, Planococcus sp. และ Pseudococcus sp. และมีเพลี้ยแป้งที่ยังจำแนกชนิดไม่ได้ ซึ่งทุกตัวอย่างต้องรอการยืนยันชนิดจากนักอนุกรมวิธานอีกครั้ง