ทดสอบรูปแบบการปลูกพืชร่วมในระบบการปลูกพืชผักอินทรีย์ภาคกลาง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: ทดสอบรูปแบบการปลูกพืชร่วมในระบบการปลูกพืชผักอินทรีย์ภาคกลาง (/showthread.php?tid=1129) |
ทดสอบรูปแบบการปลูกพืชร่วมในระบบการปลูกพืชผักอินทรีย์ภาคกลาง - doa - 01-13-2016 ทดสอบรูปแบบการปลูกพืชร่วมในระบบการปลูกพืชผักอินทรีย์ภาคกลาง พัชรีวรรณ มณีสาคร, อัมพร วิโนทัย, รจนา ไวยเจริญ, ประภัสสร เชยคำแหง และสุวัฒน์ พูลพาน กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การทดสอบรูปแบบการปลูกพืชร่วมในระบบการปลูกพืชผักอินทรีย์ภาคกลาง ดำเนินการทดลองที่แปลงเกษตรกร อ.เมือง จ. สุพรรณบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2555–มกราคม 2556 ทำการปลูกคะน้ายอด (พืชหลัก) และปลูกกวางตุ้ง (พืชกับดัก) บนแปลงทดลองย่อยแต่ละพืชขนาด 5 ตารางเมตร วางแผนการทดลองแบบ RCB 5 ซ้ำ 4 กรรมวิธี โดยกรรมวิธีที่ปลูก 1 พืชกับดักข้างแปลงหรือแนวกันชน กรรมวิธีที่ปลูก 2 พืชกับดักแซมร่วมกับพืชปลูก กรรมวิธีที่ปลูก 3 พืชกับดักสลับแถวกับพืชปลูก และกรรมวิธีที่ 4 ปลูกเฉพาะพืชปลูก ไม่ปลูกพืชกับดัก ) กรรมวิธีควบคุม (ผลการดำเนินงานพบว่า จำนวนด้วงหมัดผักในแปลงคะน้ายอดซึ่งปลูกกวางตุ้งล้อมรอบเป็นแนวกันชนพบด้วงหมัดผักน้อยที่สุดคือ 0.8 ตัว/20 ต้น ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีการปลูกแบบสลับแถวและปลูกแบบแซมกระจายในแปลง คือ 1 และ 3 ตัว/20 ต้น แต่แตกต่างทางสถิติกับแปลงควบคุม ซึ่งพบจำนวนด้วงหมัดผักเป็นจำนวนสูงสุดถึง 5.3 ตัว/20 ต้น สำหรับจำนวนหนอนกระทู้ผัก พบจำนวนน้อยที่สุดในแปลงคะน้ายอดที่ปลูกกวางตุ้งแซมกระเายในแปลงคือ 0.4 ตัว/20 ต้น ไม่แตกต่างทางสถิติกับการปลูกกวางตุ้งในแบบล้อมรอบเป็นแนวกันชน ปลูกแบบสลับแถว และแปลงควบคุม คือ 1.2, 2.8 และ 3.4 ตัว/20 ต้น ตามลำดับ ส่วนหนอนเจาะยอดกะหล่ำ พบจำนวนน้อยที่สุดในแปลงคะน้าที่ปลูกกวางตุ้งแซมกระจายในแปลง คือ 0.2 ตัว/20 ต้น แตกต่างทางสถิติกับแปลงคะน้ายอดที่ปลูกกวางตุ้งล้อมรอบแปลง และในแปลงคะน้าที่ปลูกกวางตุ้งสลับแถวกัน คือ 2.6 ตัว/20 ต้น เท่ากัน และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับแปลงควบคุมซึ่งพบจำนวนสูงสุดคือ 4.4 ตัว/20 ต้น สำหรับแปลงคะน้ายอดที่มีกวางตุ้งปลูกแซมกระเายในแปลงไม่พบหนอนลงทำลายมากนักและเมื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้แล้ว คะน้ายอดที่ปลูกกวางตุ้งรอบล้อมให้ผลผลิตคะน้ายอดสูงกว่าคะน้ายอดที่ปลูกกวางตุ้งแซมกระเายในแปลงเดียวกัน ดังนั้นวิธีการปลูกคะน้ายอดโดยปลูกกวางตุ้ง ล้อมรอบเป็นแนวกันชนจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าการปลูกตามแบบแซมกระจายในแปลง ผลการดำเนินงานสรุปได้ว่า การปลูกกวางตุ้งเป็นพืชกับดักในรูปแบบของการปลูกล้อมรอบพืชปลูกหลักคือคะน้ายอด สามารถกับดักแมลงศัตรูพืชคือด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้ผัก และหนอนเเาะยอดกะหล่ำได้ดี และให้ผลผลิตคะน้ายอดในแปลงได้เป็นจำนวนสูงสุดด้วย ดังนั้นการเลือกปลูกพืชกับดักตามรูปแบบการปลูกล้อมรอบเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนำไปใช้ปลูกกับดักแมลงศัตรูพืชในพืชชนิดอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
|