คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาการจัดการโรคผลเน่าของสละ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: ศึกษาการจัดการโรคผลเน่าของสละ (/showthread.php?tid=1124)



ศึกษาการจัดการโรคผลเน่าของสละ - doa - 01-12-2016

ศึกษาการจัดการโรคผลเน่าของสละ
ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ธารทิพย ภาสบุตร และศรีนวล สุราษฎร์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6

          จากการศึกษาสารเคมีป้องกันกำจัดโรคผลเน่าสละ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ในแปลงสละของเกษตรกร อ.ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี กรรมวิธีที่ ๑-๔ ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช difenoconazole 25%W/V EC อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตร, pyraclostrobin 25%W/V EC อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตร, tebuconazole + trifoxystrobin 50% + 25%WG อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, validamycin 3%W/V SL อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีที่ 5 พ่นน้ำเปล่าผลการทดลองสอดคล้องกันทั้ง ๒ แปลงทดลอง คือ สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดโรคผลเน่าสละ ได้แก่ pyraclostrobin 25%W/V EC อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตร และสาร tebuconazole + trifoxystrobin 50% + 25%WG อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร รองลงไปได้แก่ difenoconazole 25%W/V EC อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตร และ validamycin 3%W/V SL อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ โดยพ่นสาร ๒ ครั้ง ครั้งแรกก่อนเก็บเกี่ยวผลสละ 2 เดือน ครั้งที่สองหลังจากครั้งแรก 7 วัน