วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า (/showthread.php?tid=1118) |
วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า - doa - 01-12-2016 วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า พรพิมล อธิปัญญาคม, ชนินทร ดวงสะอาด, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และพรทิพย์ แพงจันทร์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 มะเม่า (Antidesma thwaitesianum muell.) เป็นพืชเขตร้อน จัดอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae สกุล Antidesma และเป็นผลไม้ท้องถิ่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน วัตถุประสงค์ของการศึกษาโรคของมะเม่าเพื่อทราบชนิดและสาเหตุของโรคมะเม่า โดยรวบรวมและเก็บตัวอย่างโรค ที่กรุงเทพฯ และอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ระหว่างเดือนกันยายน 2554 – เดือนสิงหาคม 2556 นำตัวอย่างโรคมาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และนำมาแยกเชื้อสาเหตุโดยวิธี Tissue transplanting method แยกเชื้อให้บริสุทธิ์ และนำมาศึกษาการจำแนกชนิดของเชื้อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อ ผลการศึกษาพบโรคมะเม่าทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ โรคใบจุด สาเหตุเกิดจาก Guignardia และโรคใบจุด สาเหตุเกิดจาก Pestalotiopsis ใบจุดสาหร่าย สาเหตุเกิดจาก Cephaleuros virescens ราดำบนใบสาเหตุเกิดจาก Scorias cylindrica และ อาการเปลือกแตกยางไหล สาเหตุเกิดจากรา Lasiodiplodia pseudotheobromae โรครากเน่าโคนเน่าแยกและจำแนกได้รา 2 ชนิด ได้แก่ Fusarium decemcellulare และ Phellinus noxius และทำการทดสอบการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าพบว่ารา P. noxius ทำให้ต้นมะเม่าแสดงอาการใบเหี่ยว เหลือง หลังจากปลูกเชื้อภายใน 75 วัน และต้นตายหลังจากนั้น 15 วัน และเมื่อแยกเชื้อกลับ นำเชื้อมาเลี้ยงบนอาหาร สามารถตรวจพบราชนิดเดิม สำหรับรา F. decemcellulare ไม่ทำให้ต้นมะเม่าเกิดโรค จากการศึกษาครั้งนี้เป็นรายงานครั้งแรกของโรคมะเม่าทั้งหมดที่เกิดในประเทศไทย ยกเว้นโรคใบจุดสาหร่าย ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาการควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าต่อไปซึ่งเป็นโรคสำคัญโรคหนึ่งของมะเม่า
|