คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การพัฒนาน้ำหมักกระเทียมร่วมกันสมุนไพรอื่นเพื่อควบคุมโรคแคงเกอร์ของมะนาว - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: การพัฒนาน้ำหมักกระเทียมร่วมกันสมุนไพรอื่นเพื่อควบคุมโรคแคงเกอร์ของมะนาว (/showthread.php?tid=1109)



การพัฒนาน้ำหมักกระเทียมร่วมกันสมุนไพรอื่นเพื่อควบคุมโรคแคงเกอร์ของมะนาว - doa - 01-11-2016

การพัฒนาน้ำหมักกระเทียมร่วมกันสมุนไพรอื่นเพื่อควบคุมโรคแคงเกอร์ของมะนาว
นลินี ศิวากรณ์ และวสันต์ ผ่องสมบูรณ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

          เชื้อ Xanthomonas axonopodis pv. citri ไม่สามารถเจริญเติบโตบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมด้วยกานพลู, น้ำประสานทอง, กำยานและเกลือ รองลงมาได้แก่ เปลือกมังคุดแห้ง และสารส้มสะตุ ส่วนกระเทียมและประคำดีควายเชื้อ X. axonopodis pv. citri สามารถเจริญเติบโตได้ปานกลาง และจากการทดสอบโดยใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสมในการหมักสมุนไพรเพื่อป้องการบูดเน่าของสมุนไพรพบว่า การใช้กากน้้าตาลท้าให้การเกิดโรคแคงกอร์สูง ส่วนการใช้เหล้าขาวที่มีแอลกอฮอลส 7% ในการหมักสมุนไพรจะสามารถช่วยลดการเกิดโรคแคงเกอร์โดยไม่ทำให้พืชแสดงอาการผิดปกติ การใช้น้ำหมักจากสมุนไพรในเหล้าขาว 7% เช่น กระเทียมผสมกำยานสามารถลดการเกิดโรคแคงเกอร์ได้ดีที่สุดโดยแสดงระดับคะแนนการเกิดโรค 2.36 รองลงมาได้แก่ น้ำหมักจากกำยาน, เหล้าขาว7%, กานพลู, เกลือ, กระเทียมผสมเกลือ และกระเทียมผสมกานพลูโดยแสดงระดับคะแนนการเกิดโรค 2.64, 2.73, 2.73, 2.82, 3.00 และ 3.27 ตามลำดับ ส่วนกำมะถันและน้ำมีการเกิดโรคแคงเกอร์มากกว่ากรรมวิธีอื่นโดยแสดงระดับคะแนนการเกิดโรค 3.55 และ 4.64 ตามลำดับ