ศึกษาปฏิกิริยาของทุเรียนพันธุ์ลูกผสมต่อเชื้อรา Phytopthora palmivora - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: ศึกษาปฏิกิริยาของทุเรียนพันธุ์ลูกผสมต่อเชื้อรา Phytopthora palmivora (/showthread.php?tid=1088) |
ศึกษาปฏิกิริยาของทุเรียนพันธุ์ลูกผสมต่อเชื้อรา Phytopthora palmivora - doa - 01-08-2016 ศึกษาปฏิกิริยาของทุเรียนพันธุ์ลูกผสมต่อเชื้อรา Phytopthora palmivora นลินี ศิวากรณ์, พจนา ตระกูลสุขรัตน์, วีรญา เต็มปิติกุล และทรงพล สมศรี กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 และผู้เชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยพืชสวนพืชสวน เชื้อรา Phytopthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนที่แยกได้มีขนาด 20.24-40.48 X 30.36-60.72 μ จากการทดลองปฏิกิริยาของทุเรียนจากใบของต้นที่เสียบยอด 24 สายพันธุ์กับเชื้อราสาเหตุที่แยกได้พบ ว่าใบทุเรียนแสดงความรุนแรงในการเกิดโรคในทุกสายพันธุ์ที่ทดสอบโดยมีลักษณะเป็นแผลขยายออกไปรอบรอยแผลที่ปลูกเชื้อ สายพันธุ์ที่แสดงลักษณะให้ค่าเฉลี่ยขนาดของแผลเล็กที่สุดได้แก่ ICN7-5-2-2 และ IIICN6-1-4-7 มีขนาดแผลเท่ากับ 1.38 ซม. และ 1.46 ซม. ตามลำดับ สายพันธุ์ที่แสดงความอ่อนแอต่อการเกิดโรคโดยให้ค่าเฉลี่ยขนาดของแผลใหญ่ที่สุดได้แก่ IIICN x M5-1-1 มีขนาดแผลเท่ากับ 2.16 ซม. ทุเรียนสายพันธุ์การค้าที่อ่อนแอที่สุด ได้แก่ หมอนทอง ให้ค่าเฉลี่ยขนาดของแผลเท่ากับ 1.92 ซม.
|