การจัดการวัชพืชในมะเขือเปราะ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การจัดการวัชพืชในมะเขือเปราะ (/showthread.php?tid=1068) |
การจัดการวัชพืชในมะเขือเปราะ - doa - 01-05-2016 การจัดการวัชพืชในมะเขือเปราะ เสริมศิริ คงแสงดาว, อำไพ สุขประเสริฐ และกลอยใจ คงเจี้ยง กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชสวนกาญจนบุรี การจัดการวัชพืชในมะเขือเปราะโดยผสมสานวัสดุคลุมดิน สารกำจัดวัชพืชและการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน ดำเนินการที่แปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชสวนกาญจนบุรี ระหว่างพฤษภาคม - กันยายน 2553 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 12 กรรมวิธี ดังนี้ การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนวัชพืชงอก กรรมวิธีที่ 1 คลุมดินด้วยพลาสติกพรางแสงชนิด 80 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีที่ 2 พ่นสารกำจัดวัชพืช oxadiazon อัตรา 150 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ก่อนคลุมดินด้วยพลาสติกพรางแสงชนิด 80 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีที่ 3-10 พ่นสารกำจัดวัชพืชก่อนย้ายปลูก 7 วัน ได้แก่ oxadiazon อัตรา 150 และ 293 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ alachlor, acetochlor, clomazone, oxyfluorfen, flumioxazin, metribuzin และ อัตรา 336, 300, 288, 47, 10 และ 98 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ กรรมวิธีที่ 11 คลุมฟางและกำจัดวัชพืชตั้งแต่ยังเล็กที่ 22 วันหลังปลูก กรรมวิธีที่ 12 ไม่กำจัดวัชพืช ผลการทดลองพบว่า metribuzin เป็นพิษรุนแรง clomazone เป็นพิษปานกลาง และ acetochlor, oxyfluorfen, flumioxazin เป็นพิษเล็กน้อย และ oxadiazon ไม่เป็นพิษต่อมะเขือเปราะ ประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในสภาพที่มีวัชพืชใบแคบขึ้นหนาแน่นวัชพืช 601 ต้นต่อตารางเมตร คิดเป็นวัชพืชใบแคบ 96.1 เปอร์เซ็นต์ สารกำจัดวัชพืชที่ควบคุมวัชพืชใบแคบได้ดีที่สุดคือ clomazone รองลงมาคือ acetochlor และ oxadiazon การใช้พลาสติกพรางแสงคลุมดินช่วยลดปริมาณวัชพืชลงได้ 47% ของการไม่กำจัดวัชพืช และเมื่อใช้พลาสติกพรางแสงคลุมดินร่วมกับสารกำจัดวัชพืชลดปริมาณวัชพืชลงได้ 92%
|