ศึกษาวัสดุคลุมดินที่มีผลต่อการควบคุมวัชพืชในกวาวเครือขาว - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: ศึกษาวัสดุคลุมดินที่มีผลต่อการควบคุมวัชพืชในกวาวเครือขาว (/showthread.php?tid=1061) |
ศึกษาวัสดุคลุมดินที่มีผลต่อการควบคุมวัชพืชในกวาวเครือขาว - doa - 01-05-2016 ศึกษาวัสดุคลุมดินที่มีผลต่อการควบคุมวัชพืชในกวาวเครือขาว เพ็ญศรี นันทสมสราญ และจรัญ ดิษฐไชยวงค์ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรจังหวัดพิจิตร ศึกษาวัสดุคลุมดินเพื่อกำจัดวัชพืชในกวาวเครือขาวปี พ.ศ. 2552 - 2553 ณ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร จ.พิจิตร วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block design จำนวน 5 ซ้ำ ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี คือ คลุมแปลงด้วยพลาสติกสีดำเทาคลุมแปลงด้วยแผ่นชีวมวล กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน และไม่มีการกำจัดวัชพืช วัชพืชในแปลงปลูกพืชสมุนไพรกวาวเครือขาวพบทั้งหมด 30 ชนิด แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ ประเภทใบแคบ 8 ชนิด
ประเภทใบกว้าง 20 ชนิด ประเภทกก 1 ชนิด และประเภทเฟิน 1 ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ หญ้าตีนติด (Brachiaria reptans L.) หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.) Link) ผักปราบนา (Commelina diffusa Burm.f.) สาบเสือ (Eupatorium odoratum L.) แห้วหมู (Cyperus rotundus L.) ทั้งสองปีพบว่าเส้นรอบวงของต้นกวาวเครือขาวไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ส่วนน้ำหนักแห้งวัชพืชในแปลงที่กำจัดด้วยแรงงานมีน้อยที่สุด แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับพลาสติกสีดำเทา และแผ่นชีวมวลทั้ง 3 กรรมวิธีมีความแตกต่างทางสถิติกับวิธีไม่กำจัดวัชพืช ซึ่งมีน้ำหนักวัชพืชมากที่สุด ดังนั้นการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานให้ผลดีที่สุด
|