กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา (/showthread.php?tid=1060) |
กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา - doa - 01-05-2016 กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา เบญจมาศ คำสืบ, สุกิจ รัตนศรีวงษ์, เสาวรี ตังสกุล, วีระชัย จุนขุนทด, สายชล แสงแก้ว, อินทิรา เยื่องจันทึก และวาสนา วงศ์พินิจ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 ปัญหาการผลิตมันสำปะหลังที่สำคัญส่งผลทำให้ผลผลิตต่ำ เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การใช้ปุ๋ยของเกษตรกรไม่สอดคล้องกับความต้องการของพืช การขาดความรู้ด้านการจัดการดินตลอดจนปัญหาการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ยแป้ง และไรแดง เป็นต้น ส่งผลให้มันสำปะหลังแสดงออกของระดับผลผลิตในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีการผลิตต่างๆ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการผลิตมันสำปะหลังโดยใช้กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง ได้แก่ แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตเฉพาะพื้นที่ การถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ และแปลงต้นแบบการผลิต อีกทั้งการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการร่วมดำเนินงานในแต่ละกระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินงาน ขณะนี้รอเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลังจากแปลงเรียนรู้ฯ ในกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพบว่า สาระความรู้ที่เกษตรกนคนเก่งและเกษตรกรเครือข่ายได้รับ เช่น ชนิดของเพลี้ยแป้ง การใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกวิธี และพันธุ์มันสำปะหลัง เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองจัดทำเป็นแปลงต้นแบบกาารผลิต ได้แก่ เกษตรกรทั้ง 10 ราย รู้จักชนิดเพลี้ยแป้งและมีการสำรวจแปลงของตนเอง เกษตรกร 1 ราย เลือกใช้ปุ๋ยที่ช่วยเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง เพื่อให้มันสำปะหลังนำธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกร 4 ราย สนใจพันธุ์มันสำปะหลังอายุสั้นเพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ ได้แก่ ระยอง 60 ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น นอกจากนี้แล้วสามารถนำรูปแบบ และกระบวนการดำเนินงานไปขยายเพื่อเป็นแนงทางการดำเนินงานยกระดับผลผลิตมันสำปะหลังให้ครอบคลุมแหล่งปลุกมันสำปะหลังของจังหวัด ภายใต้โครงการนำร่องต้นแบบบูรณาการเขตเศรษฐกิจเพื่ออาการ พลังงาน และอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 10 อำเภอ เกษตรการจำนวน 1,000 ราย และโครงการนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 42,000 ไร่ เกษตรกรจำนวน 2,600 ราย อีกทั้งมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านการอบรม และสื่อต่างๆ เป็นลำดับ ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
|