การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตเห็ดสกุล Pleurotus และ Lentinus - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตเห็ดสกุล Pleurotus และ Lentinus (/showthread.php?tid=1048) |
การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตเห็ดสกุล Pleurotus และ Lentinus - doa - 01-05-2016 การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตเห็ดสกุล Pleurotus และ Lentinus นันทินี ศรีจุมปา และศิรากานต์ ขยันการ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน ทำการทดลองใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการผลิตเห็ดที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 - กันยายน 2553 วัสดุที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ฟางข้าว เปลือกฝักข้าวโพด ซังข้าวโพด แกลบ นำมาทดลองเพาะเห็ดสกุลนางรมสองชนิด คือ นางรมฮังการี และนางฟ้าภูฏาน โดยมีขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ พบว่าเส้นใยเชื้อเห็ดทั้งสองชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในก้อนวัสดุที่ทำจากฟางข้าวหมัก เปลือกฝักข้าวโพดหมัก ซังข้าวโพดหมัก แต่ไม่สามารถเจริญได้บนก้อนที่ทำจากแกลบ เห็นางรมฮังการีที่เพาะจากเปลือกฝักข้าวโพด และซังข้าวโพด ให้ผลผลิตเห็ดไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่ในการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏานพบว่า ขี้เลื่อยไม้ยางพาราให้ผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือ การเพาะจากเปลือกฝักข้าวโพดและซังข้าวโพด แต่ผลผลิตจากฟางข้าวต่ำที่สุดทั้งในเห็ดนางรมฮังการีและนางฟ้าภูฏาน เมื่อนำขี้เลื่อยไม้ยางพารามาผสมกับแกลบที่อัตรา 1:0, 1:1, 2:1 และ 3:1 โดยปริมาตร แล้วนำมาเพาะเห็ดสกุลนางรม เห็ดขอนขาว เห็ดลมป่า พบว่า เส้นใยเห็ดทุกชนิดเจริญได้ดีในวัสดุผสมทุกอัตราส่วน แต่ในแง่ผลผลิตพบว่า เห็ดนางรมฮังการีและเห็ดนาฟ้าภูฏานที่เพาะจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราให้ผลผลิตเห็ดสูงสุด ในกรรมวิธีที่ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับแกลบที่อัตราส่วน 2:1 และ 3:1 ให้ผลผลิตรองลงมา แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลที่ได้ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันในเห็ดขอนขาวและเห็ดลมป่า แต่ในเห็ดลมป่าพบว่า ถ้าใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับแกลบที่อัตราส่วน 1:1 ให้ผลผลิตไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพียงอย่างเดียว ดังนั้นในการเพาะเห้ดลมป่าสามารถผสมแกลบกับขี้เลื่อยไม่ยางพาราได้ 50 % ซึ่งจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อขี้เลื่อยไม้ยางพาราลงได้ 50 %
|