คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การจัดการโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การจัดการโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (/showthread.php?tid=1042)



การจัดการโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ - doa - 01-05-2016

การจัดการโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์
นลินี ศิวากรณ์, พจนา ตระกูลสุขรัตน์ และสุพัตรา อินทวิมลศรี
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การจัดการโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่แยกจากแหล่งปลูกพืชในประเทศไทย และได้ทดสอบเพื่อคัดเลือกเชื้อที่มีประสิทธิภาพดีบนอาหารเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการมาดำเนินการทดสอบในแปลงปลูกมะม่วงของเกษตรกร อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีกรรมวิธีการฉีดพ่นเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ Bacillus subtilis strain ZJUT zy, B. subtilis strain HDYM-34, สารเคมีอมิสตา และกรรมวิธีเปรียบเทียบ(น้ำ) โดยมีการควบคุมด้วยปัจจัยที่มีการห่อผลและไม่ห่อผลบนต้นมะม่วงในแปลงปลูกระยะติดผลอ่อนขนาด 1 เซนติเมตร จนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต พบว่า การใช้สารเคมีอมิสตาและเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ B. subtilis strain ZJUT zy, เชื้อ B. subtilis strain HDYM-34 ไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสได้ เนื่องจากในช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตมีฝนตกทำให้ความชื้นในอากาศสูงเหมาะต่อการแพร่ระบาดของโรค ทำให้ผลมะม่วงแสดงความรุนแรงของการเกิดโรคสูงในทุกกรรมวิธีที่ทดสอบทั้งปัจจัยห่อผลและไม่ห่อผล แต่ทุกกรรมวิธีของการห่อผลมีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคน้อยกว่าการไม่ห่อผล โดยการห่อผลแสดงเปอร์เซ็นต์ของการเกิดโรคเฉลี่ย 32.25% ส่วนการไม่ห่อผลแสดงเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของการเกิดโรคเฉลี่ย 71.19% ดังนั้น การจัดารโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงด้วยวิธีการห่อผลสามารถลดการเกิดโรคแอนแทรคโนสได้เฉลี่ย 38.19%